วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


บันทึกอนุทินครั้งที่  15

วันพฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การนำเสนอวิจัย


นิยาม : ทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุป  การบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีความเห็นจากข้อมูลจากการสังเกต จากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่

กิจกรรมการทดลอง : ไข่หมุน
อุปกรณ์ 
  1. ไข่ต้มสุก
  2. ไข่ดิบ
วิธีการสอน
  1. เด็กนำไข่ต้มสุกมาหมุนแล้วสังเกตการหมุนของไข่ต้มสุก
  2. เด็กนำไข่ดิบมาหมุนแล้วสังเกตการหมุนของไข่ดิบ
  3. เด็กหมุนไข่พร้อมกันแล้วสังเกตความหมุนต่างของไข่
  4. เด็กบอกความหมุนต่างของไข่ แล้วบันทึก
  5. ครูและเด็กร่วมกันสรุปความเห็น
กิจกกรมในชั้นเรียน : สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน

อุปกรณ์ : 
  1. กระดาษ A4 พับสามส่วน


สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนนนี้ 
  • เป็นแผ่นพับที่แสดงรายละเอียดจากจัดการเรียนในหน่วยการต่างๆ ที่ครูและเด็กได้ร่วมตกลงกัน 
  • เป็นวารสารที่ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองของเด็กในการจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ เพื่อความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็ก
  • วารสารจะมีเพลงหรือคำคล้องจองกี่ยวกับหน่วยการเรียนของด็ก เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในหน่วยนั้นๆ
  • ท้ายสุดมีกิจกรรม เล่นกับลูก เป็นเกมการศึกษาให้แม่และลูกได้เล่น เพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต ซึ่งป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ และยังบูรณาการกับวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ เป็นต้น
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำเนื้อหาและรูปแบบวิจัยไปเป็นต้นแบบในการทำวิจัยในชั้นเรียน
  2. การนำวิธีการสอนหรือการทดลองมาจัดการสอนในหน่วยไข่ เพื่อส่งสริมทักษะการสังเกตของเด็ก
  3. การทำสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนไปใช้เมื่อเราไปเป็นครู เพื่อเป็นการประสานงานความร่วมมือกับผู้ปกครอง
  4. การประสานความร่วมมือกับครู ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อพัฒนาเด็กปฐมให้ครอบคลุม
  5. การทำรายละเอียดหรือเกล็ดความรู้ให้ผู้ปกครองทราบถึงหน่วยการเรียนรู้ของเด็ก
เทคนิคการสอน
  1. การใช้คำถามเพื่อทดสอบการฟังหรือเรียนรู้วิจัยของนักศึกษาว่ามีความรู้มากน้อยเพียงใด
  2. การขยายหรือเพิ่มเติมความรู้จากวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ
  3. การประยุกต์วิจัยที่นำเสนอสู่หน่วยการเรียนที่แต่ละกลุ่มทำ
  4. ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทำวารสารป็นกลุ่ม เพื่อให้คนในกลุ่มได้ตกลงหน้าที่กัน
  5. การอธิบายการทำวารสาร ว่าในเนื้อหาเราต้องใส่คำที่สวยงามไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป
  6. การบอกเทคนิค สร้างเกมเล่นกับลูกที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์
  7. การสรุปความรู้ทุกครั้งหลังการสอน
ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีวินัยในชั้นรียน ตั้งใจและจดบันทึกวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ ให้ความร่วมมือในการทำวารสารในกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจน จึงทำให้งานออกมาได้สมบูรณ์แบบ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีวินัยใยชั้นเรียน ตั้งใจเรียนและร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น เพื่อนทุกคนก็แบ่งหน้าที่กันชัดเจน ร่วมมือกันทำงานจนสำเร็จ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนการสอนมาตลอดทั้งภาคเรียน ทำให้นักศึกษาตระหนักเห็นถึงการเป็นแม่พิมพ์ของชาติที่ดี ขอบพระคุณอาจารย์ที่ใส่ใจนักศึกษาทุกรายละเอียด เช่น การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การเขียนแผนการสอน เทคนิควิธีต่างๆที่ได้นำมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษา ดิฉันมีความกังวลใจว่าเราจะสอนวิทยาศาสตร์เด็กได้อย่างไร แต่พอมาเรียนแล้วก็ได้รูปแบบการสอน และเทคนิคต่างๆ เพื่อนำไปส่งเสริมเด็กให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น บรรกาศการเรียนมีบางครั้งที่ทำให้เกิดเมื่อยล้ากับเนื้อหาที่เยอะ แต่โดยรวมแล้วเมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆจะเห็นรอยยิ้ม ความสนุกสนานของเพื่อนทุกคน สิ่งที่ประทับใจอาจารย์ คือ การดูแลเอาใจใส่นักศึกษา ดิฉันจะเห็นทุกคาบคือการจดบันทึก จดรายละเอียดความรู้ที่นักศึกษาไดนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน สิ่งนี้ทำให้นักศึกษารู้ว่าเนื้อหาที่นำมาไม่เสียเปล่าเลย สุดท้ายดิฉันขอบคุณอาจารย์ ที่ตั้งใจมอบทุกอย่างให้นักศึกษาเป็นคนดีและคนเก่ง "อย่ารอให้ผมปลี่ยนสีแล้วค่อยเก่ง เก่งตั้งแต่ตอนนี้เราจะประสบความสำเร็จในชีวิต" ประโยคนี้ทำให้ดิฉันมีกำลังใจในการรียนและศึกษาความรู้ให้มากขึ้น


วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ISCi ถ้วยบินได้


ถ้วยบินได้


การทดลอง ถ้วยบินได้
ขั้นนำ
  1. ใช้คำถามกระตุ้นเด็ก แก้วที่วางซ้อนกัน เราจะทำให้ถ้วยด้านบนลอยออกมาได้อย่างไร
  2. เด็กตอบและทดลองทำตามคำตอบของตนเอง
  3. สาธิตให้เด็กดู โดย การเป่า เมื่อถ้วยลอยออกมาก็ให้เด็กได้ทดลองตามที่สาธิต 
ขั้นสรุป สาเหตุที่ถ้วยลอยได้
เพราะเมื่อเราเป่าออกไปอากาศจะไหลไปตามช่องแคบๆระหว่างขอบถ้วย 2 ใบที่ซ้อนกันอยู่ การเป่าเป็นการเพิ่มความเร็วของอากาศด้านบนของถ้วย ทำให้ความดันอากาศบริเวณนี้ลดต่ำลงกว่าในถ้วยที่ไม่ได้รับผลจากการเป่า เป็นผลทำให้ด้านในมีแรงดันที่สูงกว่าเป็นตัวดันให้ถ้วยลอยออกมา

หลักการ : เครื่องบินชนิดต่างๆ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกอนุทินครั้งที่  14

วันพฤหัสบดี ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


การนำเสนอวิจัยวิทยาศาสตร์

 ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การวัด
  4. มิติสัมพันธ์
ตัวอย่างชุดกิจกรรมื หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี
  1. เด็กหยิบบัตรภาพ แล้วออกแบบท่าทางสัตว์ตามที่หยิบมา
  2. เด็กหยิบภาพอาหารมาจับคู่กับภาพสัตว์
  3. เด็กเรียงลำดับภาพสัตว์จากเล็กไปใหญ่
วิจัยที่ 2 เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของด็กปฐมวัย
ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
  1. การสังเกต
  2. การกะประมาณ
  3. การเปลี่ยนแปลง
กิจกรรม หน่วยวิทยาศาสตร์
  1. แว่นขยาย
  2. แสง
  3. เสียงในธรรมชาติ
วิจัยที่ 3 เรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การทดลอง หน่วยน้ำ
อุปกรณ์
  1. แก้วน้ำ
  2. กะละมัง
  3. ขวดน้ำ
  4. กรวย
  5. น้ำ
ขั้นสอน
  1. ครูใช้คำถาม เด็กๆคิดว่าน้ำจะเข้าไปในขวดได้อย่างไร
  2. ครูใช้คำถาม จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อครูคว่ำขวดน้ำลงกะละมัง
  3. ให้เด็กสังเกตและตอบคำถาม จากนั้นให้เด็กทดลองด้วยตนเอง
การนำเสนอโทรทัศน์ครู
  1. จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
  2. สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
  3. อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
  4. กิจกรรมเรือสะเทินน้ำสะเทินบกและจรวด
  5. ขวดปั้มและลิฟเทียน 
  6. สือแสงแสนสนุก
  7. พลังจิตคิดไม่ซื่อ
  8. ทะเลฟองสีรุ้ง
  9. บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
  10. ความลับของใบบัว
  11. สนุกวิทย์ คิดทดลอง ไข่ในน้ำ
  12. สาดสีสุดสนุก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำวิจัยเรื่องต่างๆไปเป็นแนวทางในการทำจัยหรือเรียนวิชา วิจัยเพื่อการศึกษา ในภาคเรียนที่2
  2. นำแนวทาง เครื่องมือ การทำวิจัย มาเป็นรูปแบบเพื่อการจัดการศึกษาเด็ก
  3. นำแผนการจะจัดประสบการณ์มาใช้ หรือการบูรณาการกับวิชาอื่นให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
เทคนิคการสอน
  1. ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือ ข้อมูลวิจัย ฐานวิจัย เป็นต้น
  2. ฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์วิจัยที่ได้นำมา ทำไม อย่างไร ผลเป็นอย่างไร
  3. ฝึกการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อความกล้าแสดงออกและบุคคลิกภาพความเป็นครู
  4. การขยายเพิ่มเติมความรู้จากวิจัยที่ได้ศึกษา
  5. การทบทวนความรู้โดยการใช้คำถามกระตุ้น
ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายสุขภาพเรียบร้อย มีวินัยในห้องเรียน ตั้งใจและบันทึกความรู้จากการนำเสนอวิจัยของเพื่อน ร่วมตอบคำถามแสดงความคิดเห็นจากคำถามของอาจารย์ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อย เข้ารียนตรงเวลา ตั้งใจจดบันทึก ตั้งใจเรียน แต่มีส่วนน้อยที่ยังคุยกันขณะเพื่อนนำเสนอ แต่โดยรวมแล้วการเรียนการสอนสนุก จากการร่วมตอบคำถาม และการทำขนม

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ใช้เทคนิคที่หลากหลายในการเรียนการสอน สิ่งที่ให้นักศึกษามานำเสนอวิจัยเป็นการฝึกนักศึกษาให้ค้นหาความรู้ การคิดวิเคราะห์ ความกล้าแสดงออก มีบุคคลิกที่ดี เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนความรู้ให้มีคลังความรู้เพิ่มเติม