วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


บันทึกอนุทินครั้งที่  15

วันพฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การนำเสนอวิจัย


นิยาม : ทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุป  การบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีความเห็นจากข้อมูลจากการสังเกต จากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่

กิจกรรมการทดลอง : ไข่หมุน
อุปกรณ์ 
  1. ไข่ต้มสุก
  2. ไข่ดิบ
วิธีการสอน
  1. เด็กนำไข่ต้มสุกมาหมุนแล้วสังเกตการหมุนของไข่ต้มสุก
  2. เด็กนำไข่ดิบมาหมุนแล้วสังเกตการหมุนของไข่ดิบ
  3. เด็กหมุนไข่พร้อมกันแล้วสังเกตความหมุนต่างของไข่
  4. เด็กบอกความหมุนต่างของไข่ แล้วบันทึก
  5. ครูและเด็กร่วมกันสรุปความเห็น
กิจกกรมในชั้นเรียน : สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน

อุปกรณ์ : 
  1. กระดาษ A4 พับสามส่วน


สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนนนี้ 
  • เป็นแผ่นพับที่แสดงรายละเอียดจากจัดการเรียนในหน่วยการต่างๆ ที่ครูและเด็กได้ร่วมตกลงกัน 
  • เป็นวารสารที่ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองของเด็กในการจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ เพื่อความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็ก
  • วารสารจะมีเพลงหรือคำคล้องจองกี่ยวกับหน่วยการเรียนของด็ก เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในหน่วยนั้นๆ
  • ท้ายสุดมีกิจกรรม เล่นกับลูก เป็นเกมการศึกษาให้แม่และลูกได้เล่น เพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต ซึ่งป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ และยังบูรณาการกับวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ เป็นต้น
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำเนื้อหาและรูปแบบวิจัยไปเป็นต้นแบบในการทำวิจัยในชั้นเรียน
  2. การนำวิธีการสอนหรือการทดลองมาจัดการสอนในหน่วยไข่ เพื่อส่งสริมทักษะการสังเกตของเด็ก
  3. การทำสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนไปใช้เมื่อเราไปเป็นครู เพื่อเป็นการประสานงานความร่วมมือกับผู้ปกครอง
  4. การประสานความร่วมมือกับครู ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อพัฒนาเด็กปฐมให้ครอบคลุม
  5. การทำรายละเอียดหรือเกล็ดความรู้ให้ผู้ปกครองทราบถึงหน่วยการเรียนรู้ของเด็ก
เทคนิคการสอน
  1. การใช้คำถามเพื่อทดสอบการฟังหรือเรียนรู้วิจัยของนักศึกษาว่ามีความรู้มากน้อยเพียงใด
  2. การขยายหรือเพิ่มเติมความรู้จากวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ
  3. การประยุกต์วิจัยที่นำเสนอสู่หน่วยการเรียนที่แต่ละกลุ่มทำ
  4. ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทำวารสารป็นกลุ่ม เพื่อให้คนในกลุ่มได้ตกลงหน้าที่กัน
  5. การอธิบายการทำวารสาร ว่าในเนื้อหาเราต้องใส่คำที่สวยงามไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป
  6. การบอกเทคนิค สร้างเกมเล่นกับลูกที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์
  7. การสรุปความรู้ทุกครั้งหลังการสอน
ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีวินัยในชั้นรียน ตั้งใจและจดบันทึกวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ ให้ความร่วมมือในการทำวารสารในกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจน จึงทำให้งานออกมาได้สมบูรณ์แบบ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีวินัยใยชั้นเรียน ตั้งใจเรียนและร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น เพื่อนทุกคนก็แบ่งหน้าที่กันชัดเจน ร่วมมือกันทำงานจนสำเร็จ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนการสอนมาตลอดทั้งภาคเรียน ทำให้นักศึกษาตระหนักเห็นถึงการเป็นแม่พิมพ์ของชาติที่ดี ขอบพระคุณอาจารย์ที่ใส่ใจนักศึกษาทุกรายละเอียด เช่น การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การเขียนแผนการสอน เทคนิควิธีต่างๆที่ได้นำมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษา ดิฉันมีความกังวลใจว่าเราจะสอนวิทยาศาสตร์เด็กได้อย่างไร แต่พอมาเรียนแล้วก็ได้รูปแบบการสอน และเทคนิคต่างๆ เพื่อนำไปส่งเสริมเด็กให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น บรรกาศการเรียนมีบางครั้งที่ทำให้เกิดเมื่อยล้ากับเนื้อหาที่เยอะ แต่โดยรวมแล้วเมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆจะเห็นรอยยิ้ม ความสนุกสนานของเพื่อนทุกคน สิ่งที่ประทับใจอาจารย์ คือ การดูแลเอาใจใส่นักศึกษา ดิฉันจะเห็นทุกคาบคือการจดบันทึก จดรายละเอียดความรู้ที่นักศึกษาไดนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน สิ่งนี้ทำให้นักศึกษารู้ว่าเนื้อหาที่นำมาไม่เสียเปล่าเลย สุดท้ายดิฉันขอบคุณอาจารย์ ที่ตั้งใจมอบทุกอย่างให้นักศึกษาเป็นคนดีและคนเก่ง "อย่ารอให้ผมปลี่ยนสีแล้วค่อยเก่ง เก่งตั้งแต่ตอนนี้เราจะประสบความสำเร็จในชีวิต" ประโยคนี้ทำให้ดิฉันมีกำลังใจในการรียนและศึกษาความรู้ให้มากขึ้น


วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ISCi ถ้วยบินได้


ถ้วยบินได้


การทดลอง ถ้วยบินได้
ขั้นนำ
  1. ใช้คำถามกระตุ้นเด็ก แก้วที่วางซ้อนกัน เราจะทำให้ถ้วยด้านบนลอยออกมาได้อย่างไร
  2. เด็กตอบและทดลองทำตามคำตอบของตนเอง
  3. สาธิตให้เด็กดู โดย การเป่า เมื่อถ้วยลอยออกมาก็ให้เด็กได้ทดลองตามที่สาธิต 
ขั้นสรุป สาเหตุที่ถ้วยลอยได้
เพราะเมื่อเราเป่าออกไปอากาศจะไหลไปตามช่องแคบๆระหว่างขอบถ้วย 2 ใบที่ซ้อนกันอยู่ การเป่าเป็นการเพิ่มความเร็วของอากาศด้านบนของถ้วย ทำให้ความดันอากาศบริเวณนี้ลดต่ำลงกว่าในถ้วยที่ไม่ได้รับผลจากการเป่า เป็นผลทำให้ด้านในมีแรงดันที่สูงกว่าเป็นตัวดันให้ถ้วยลอยออกมา

หลักการ : เครื่องบินชนิดต่างๆ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกอนุทินครั้งที่  14

วันพฤหัสบดี ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


การนำเสนอวิจัยวิทยาศาสตร์

 ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การวัด
  4. มิติสัมพันธ์
ตัวอย่างชุดกิจกรรมื หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี
  1. เด็กหยิบบัตรภาพ แล้วออกแบบท่าทางสัตว์ตามที่หยิบมา
  2. เด็กหยิบภาพอาหารมาจับคู่กับภาพสัตว์
  3. เด็กเรียงลำดับภาพสัตว์จากเล็กไปใหญ่
วิจัยที่ 2 เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของด็กปฐมวัย
ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
  1. การสังเกต
  2. การกะประมาณ
  3. การเปลี่ยนแปลง
กิจกรรม หน่วยวิทยาศาสตร์
  1. แว่นขยาย
  2. แสง
  3. เสียงในธรรมชาติ
วิจัยที่ 3 เรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การทดลอง หน่วยน้ำ
อุปกรณ์
  1. แก้วน้ำ
  2. กะละมัง
  3. ขวดน้ำ
  4. กรวย
  5. น้ำ
ขั้นสอน
  1. ครูใช้คำถาม เด็กๆคิดว่าน้ำจะเข้าไปในขวดได้อย่างไร
  2. ครูใช้คำถาม จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อครูคว่ำขวดน้ำลงกะละมัง
  3. ให้เด็กสังเกตและตอบคำถาม จากนั้นให้เด็กทดลองด้วยตนเอง
การนำเสนอโทรทัศน์ครู
  1. จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
  2. สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
  3. อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
  4. กิจกรรมเรือสะเทินน้ำสะเทินบกและจรวด
  5. ขวดปั้มและลิฟเทียน 
  6. สือแสงแสนสนุก
  7. พลังจิตคิดไม่ซื่อ
  8. ทะเลฟองสีรุ้ง
  9. บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
  10. ความลับของใบบัว
  11. สนุกวิทย์ คิดทดลอง ไข่ในน้ำ
  12. สาดสีสุดสนุก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำวิจัยเรื่องต่างๆไปเป็นแนวทางในการทำจัยหรือเรียนวิชา วิจัยเพื่อการศึกษา ในภาคเรียนที่2
  2. นำแนวทาง เครื่องมือ การทำวิจัย มาเป็นรูปแบบเพื่อการจัดการศึกษาเด็ก
  3. นำแผนการจะจัดประสบการณ์มาใช้ หรือการบูรณาการกับวิชาอื่นให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
เทคนิคการสอน
  1. ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือ ข้อมูลวิจัย ฐานวิจัย เป็นต้น
  2. ฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์วิจัยที่ได้นำมา ทำไม อย่างไร ผลเป็นอย่างไร
  3. ฝึกการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อความกล้าแสดงออกและบุคคลิกภาพความเป็นครู
  4. การขยายเพิ่มเติมความรู้จากวิจัยที่ได้ศึกษา
  5. การทบทวนความรู้โดยการใช้คำถามกระตุ้น
ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายสุขภาพเรียบร้อย มีวินัยในห้องเรียน ตั้งใจและบันทึกความรู้จากการนำเสนอวิจัยของเพื่อน ร่วมตอบคำถามแสดงความคิดเห็นจากคำถามของอาจารย์ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อย เข้ารียนตรงเวลา ตั้งใจจดบันทึก ตั้งใจเรียน แต่มีส่วนน้อยที่ยังคุยกันขณะเพื่อนนำเสนอ แต่โดยรวมแล้วการเรียนการสอนสนุก จากการร่วมตอบคำถาม และการทำขนม

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ใช้เทคนิคที่หลากหลายในการเรียนการสอน สิ่งที่ให้นักศึกษามานำเสนอวิจัยเป็นการฝึกนักศึกษาให้ค้นหาความรู้ การคิดวิเคราะห์ ความกล้าแสดงออก มีบุคคลิกที่ดี เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนความรู้ให้มีคลังความรู้เพิ่มเติม 

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกอนุทินครั้งที่  13

วันพฤหัสบดี ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เนื้อหาการเรียน : วิจัยวิทยาศาสตร์สำเด็กปฐมวัย

เพื่อพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 6 ด้าน
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การวัด
  4. มิติสัมพันธ์
  5. การสื่อสาร
  6. การลงความเห็น
โดยใช้แผนเสริมประสบการณ์เชื่อมโยงสู่ศิปะสร้างสรรค์ เช่น หน่วยเครื่องครัว
  1. ครูสอนเด็กโดยนำภาพอาหารมาให้ด็กสังเกตและชิมรส แล้วถามเด็กว่าอาหารนี้มีเครื่องปรุงอะไรบ้าง และต้องใช้เครื่องครัวอะไรบ้าง  
  2. ครูนำเครื่องครัวมาให้เด็กสังเกต จำแนกเปรียบเทียบ
  3. เด็กร่วมแสดงความคิดเห็น
  4. ครูให้เด็กสร้างผลงานศิลปะสร้างสรรค์ หน่วยเครื่องครัว
รูปแบบศิลปะสร้างสรรค์  6 รูปแบบที่นำมาจัดประสบการณ์
  1. ศิลปะย้ำ
  2. ศิลปะปรับภาพ
  3. ศิลปะเลียนแบบ
  4. ศิลปะถ่ายโยง
  5. ศิลปะบูรณาการ
  6. ศิลปะค้นหา

มิติสัมพันธ์ : ความสามารถในการมองเห็น ความเข้าใจ การจำแนก
การจัดกิจกรรม : การทดลอง > การสื่อความหมาย > การวาดภาพระบายสี > การบันทึก


พัฒนาทักษะการจำแนก > ความสามารถในการจับกลุ่ม เรียงลำดับ หาความสัมพันธ์
การสอนแบบสืบเสาะ
  1. ครูและเด็กร่วมตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์
  2. สำรวจ ตรวจสอบ รวบรวมข้อมูล
  3. หาคำตอบและอธิบาย
  4. การนำเสนอ
คำถาม เด็กรู้บรรยากาศก่อน - หลังฝนตกไหม และวเป็นบรรยากาศอย่างไร


พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 6 ด้าน
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การแสดงปริมาณ
  4. มิติสัมพันธ์
  5. การสื่อความหมาย
  6. การแสดงความคิดเห็น
กิจกรรมในชั้นเรียน : Cooking Waffle


  1. ครูเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น ถ้วยตวง ชามขนาดใหญ่ ที่ตีไข่ ข้อน จาน แป้งWaffle ไข่ไก่ เนยเครื่องทำขนม น้ำ เป็นต้น พร้อมทั้งอธิบายและสาธิตขั้นตอนการทำ
  2. อาสาสมัครออกมาช่วยครูจัดอุปกรณ์ทั้งหมด 6 ชุด
  3. อาสาสมัครมารับอุปกรณ์ และช่วยกันทำขนม เริ่มจากตีไข่ให้เนียน ใส่เนย และค่อยๆใส่แป้งที่ละนิด พร้อมกันเติมน้ำให้แป้งมีความเนียนพอดี
  4. ตักใส่ถ้วยคนละ 1 ถ้วย แล้วนำไปหยอดที่เครื่องทำขนม รอจนสุกแล้วตักใส่จาน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำวิจัยเรื่องต่างๆไปเป็นแนวทางในการทำจัยหรือเรียนวิชา วิจัยเพื่อการศึกษา ในภาคเรียนที่2
  2. นำแนวทาง เครื่องมือ การทำวิจัย มาเป็นรูปแบบเพื่อการจัดการศึกษาเด็ก
  3. นำแผนการจะจัดประสบการณ์มาใช้ หรือการบูรณาการกับวิชาอื่นให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
  4. การนำวิธีการสอนทำขนมไปใช้กับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กทำงานอย่างเป็นระบบ
  5. การทำขนมไปต่อยอดจากการเรียนสู่การค้าขาย โดยอาจเพิ่มเติม Topping และรสต่างๆ
เทคนิคการสอน
  1. ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือ ข้อมูลวิจัย ฐานวิจัย เป็นต้น
  2. ฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์วิจัยที่ได้นำมา ทำไม อย่างไร ผลเป็นอย่างไร
  3. ฝึกการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อความกล้าแสดงออกและบุคคลิกภาพความเป็นครู
  4. การขยายเพิ่มเติมความรู้จากวิจัยที่ได้ศึกษา
  5. การทบทวนความรู้โดยการใช้คำถามกระตุ้น
  6. กิจกรรมการทำขนม โดยลงมือ
ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายสุขภาพเรียบร้อย มีวินัยในห้องเรียน ตั้งใจและจดความรู้จากการนำเสนอวิจัยของเพื่อน ร่วมตอบคำถามแสดงความคิดเห็นจากคำถามของอาจารย์ และชอบกิจกรรมในห้องเรียนในวันนี้มาก เพราะ ดิฉันพอมีทักษะในการทำขนม เช่น โดนัท กระหรี่ปั๊บ ลูกชุป และอื่นๆ แต่ Waffle เป็นครั้งแรกในการทำมีความสนใจและชอบจะนำไปต่อยอด รสชาติให้มีลูกเล่นมากขึ้น เพื่อนำไปขายหน้าร้าน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อย เข้ารียนตรงเวลา ตั้งใจจดบันทึก ตั้งใจเรียน แต่มีส่วนน้อยที่ยังคุยกันขณะเพื่อนนำเสนอ แต่โดยรวมแล้วการเรียนการสอนสนุก จากการร่วมตอบคำถาม และการทำขนม

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ใช้เทคนิคที่หลากหลายในการเรียนการสอน สิ่งที่ให้นักศึกษามานำเสนอวิจัยเป็นการฝึกนักศึกษาให้ค้นหาความรู้ การคิดวิเคราะห์ ความกล้าแสดงออก มีบุคคลิกที่ดี เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนความรู้ให้มีคลังความรู้เพิ่มเติม ขอบคุณอาจารย์ที่เป็นต้นแบบที่ดีในการเรียนการสอน เช่น ความตรงต่อเวลา ความใส่ใจและสนใจเด็กทุกคน ทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งที่นำมาไม่เสียเปล่า และประทับใจการทำขนม ทำให้ได้ความรู้หลายอย่างในกิจกรรมนี้ เช่น ขั้นตอนการสอนเด็กทำอาหาร และเป็นการสร้างอาชีพเล็กๆให้ดิฉันในช่วงปิดเทอม ดิฉันมีควาามสุขและสนุกสนานกับการเรียนการสอน ผ่อนคลายกับการทำขนม

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทินครั้งที่  12

วันพฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นำเสนอวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิจัยเรื่องที่ 1 การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อใหน้กัเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น

2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบประเมินทักษะการสังเกตการเล่นเกม 5 เกม
1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมสังเกต

สรุปผลการวิจัย
ภายหลังจากการส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า เด็กนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น

วิจัยเรื่องที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
  2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ทักษะที่เด็กได้รับ
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การสื่อสาร
การจัดกิจกรรมโดยการฟังนิทาน สู่ การทดลอง
  1. พับเรือ แล้วใช้คำถามจะจมหรือลอย
  2. เด็กได้สังเกต
  3. ครูใส่ลูกแก้วที่ละลูก พอถึงลูกที่ 4 เรือจม (เด็กได้จำแนกจำนวนลูกแก้วลูกที่ 1-3 เรือลอย ส่วนลูกที่ 4 เรือจม)
  4. เด็กได้ประมวลความรู้เพื่อนำเสนอ

ความมุ่งหมายของวิจัย
  1. เพื่อศึกษาทักษะของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัยก่อนทดลอง และหลังทดลอง
สรุปผลวิจัย

การวิจัยเปนการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Design) ซึงทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนนักเรียนระดับปฐมวัย โดยผู้วิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยางเป็นเวลา1 สัปดาห

จากนั้นทําการทดสอบด้วยแบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย กอนการทดลอง
กับกลุมตัวอย่าง และดําเนินการทดลองจนครบ  8 สัปดาหเมื่อสิ้นสุดการทดลอง  นําแบบทดสอบทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร ของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง    และนําขอมูลที่ไดจากการทดสอบมาวิเคราะหขอมูลด้วยวิธีการทางสถิติ


ทักษะที่เด็กได้รับ
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนก
  3. ทักษะด้านมิติสัมพันธ์
  4. ทักษะการลงความเห็น
คำสำคัญ : ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์/ กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

สรุปผลการวิจัย

1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจ าแนกรายทักษะ หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอยูมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกวากอนใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ 40 แผน
  2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • การจำแนก
  • การวัดปริมาณ
  • การหามิติสัมพันธ์
  • การลงความห็น
สรุปผลการทำวิจัย

เน้นกระบวนการเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติทุกขั้นตอน โดยให้เด็กทำแป้งโด แล้วให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ


ทักษะที่ได้รับ
  1. ทักษะการฟัง
  2. ทักษะการสังเกต
  3. ทักษะการคิดแก้ปัญหา
  4. ทักษะการใช้เหตุผล
สรุปผลการวิจัย

เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวมและราบด้าน สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรม


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์
  2. แบบทดสอบสัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล 5 ชุด
สรุปผลการทำวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบปกติ หลังการทดลองเด็กมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำเครื่องมือการวิจัยวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย
  2. การนำวิจัยมาปรับใช้เพื่องส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
  3. การนำวัยมาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาให้กับเด็กปฐมวัย
  4. การนำวิจัยมาเป็นแบบอย่างในการทำวิจัยในชั้นเรียน
  5. การใช้คำสำสัญเพื่อหาวิจัยได้ง่ายขึ้น
เทคนิคการสอน
  1. การสืบค้นข้อมูลและความรู้ด้วยตนเอง
  2. การคิดวิเคราะห์ในการสรุปผลการทำวิจัย
  3. การเพิ่มเติมความรู้จากวิจัยแต่ล่ะเรื่อง
  4. การให้จำคำสำคัญของวิจัย
  5. การนำสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน
  6. การให้คำแนะนำในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  7. การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ
การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง : แต่งกายถูกระเบียบ มีความตรงต่อเวลาในการเข้าห้องเรียน การนำเสนอวิจัยในวันนี้ราบรื่นเพราะสามารถใช้นำ้เสียงที่น่าฟัง และเพื่อนที่ฟังการนำเสนอวิจัยสามารถจับประเด็นได้ 
ประเมินพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังการนำเสนอวิจัยต่างๆ และสามารถสรุปองค์ความรู้ต่างๆได้เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง แล้วให้นำวิจัยมานำเสนอหน้าชั้นเรียน สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการขยายความรู้ของวิจัยแต่ละเรื่องให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ดิฉันประทับอาจารย์เป็นอย่างมาก เพราะอาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำทุกครั้งที่นักศึกษานำเสนองาน อาจารย์ก็จะใส่ใจและจดบันทึกความรู้ตลอด ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าสิ่งที่เตรียมมาอาจารย์ให้ความสำคัญกับงานที่นักศึกษาได้ทำ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การส่งเสริมทกัษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา


 การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ผู้วิจัย นางสาวจุฑารัตน์ วรรณศรียพงษ์


ความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย
   จากการที่ผู้วิจัยได้ปฏิบัติการสอนที่โรงเรียนกสินธรเซนต์ปีเตอร์ โดยทำการสอนในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1/3 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 36 คน มีการจัดการเรียนการสอน  โดยใช้ 6 กิจกรรมหลัก และส่งเสริมทักษะทางวิชาการให้กับเด็กผู้วิจัยได้มีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน พบว่า เด็กในห้องเรียนส่วนใหญ่ขาดทักษะในการเรียนรู้สิ่งต่างด้วยการสังเกต สังเกตได้จากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์และการทำผลงานต่างๆ เด็กๆจะไม่สังเกตสิ่งต่างๆที่คุณครูนำมาให้ดูเมื่อคุณครูถามก็จะตอบไม่ได้
   จากสาเหตุดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมทักษะการสังเกตให้กับ เด็กปฐมวัยการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัยัสามารถจัดได้หลายกิจกรรมด้วยก้น ได้แก่การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์การศึกษาการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต และการเล่นเกมการศึกษา เป็นต้น
   ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการสังเกต นักเรียนชั้น อนุบาลปี ที่1/3 โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่หลากหลาย คำนึงถึงความเหมาะสมของเด็ก และเป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กให้มีทักษะการสังเกตมากขึ้น เพื่อเป็นการวางรากฐานการเรียนรู้ให้กับ เด็กในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อใหน้กัเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชาย– หญิงอายุระหว่าง 3-4 ปีที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2556 จำนวน 36 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาฝึกทักษะการสังเกต
ตัวแปรตาม
ทักษะการสังเกตของนักเรียนสูงขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบประเมินทักษะการสังเกตการเล่นเกม 5 เกม
1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมสังเกต

วิธีการดำเนินการ
1. คุณครูสังเกตทักษะการสังเกตของเด็กๆในขณะทำกิจกรรมต่างๆ
2. คุณครูพดูคุยชี้แนะให้เด็กๆสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3. คุณครูจัดกิจกรรมเกมการศึกษา สาธิตวิธีการเล่นเกมใหเ้ด็กๆดู
4. เด็กๆเล่นเกมการศึกษาโดยมีคุณครูคอยชี้นำ และสังเกตวิธีการเล่นเกมของเด็กๆ
5. คุณครูกล่าวชมเชยเด็กเมื่อสามารถเล่นเกมได้ถูกต้อง
6. เด็กๆเล่นเกมการศึกษาอย่างสม่าเสมอ
7. คุณครูประเมินเด็กด้วยแบบประเมินทักษะการสังเกต

การวิเคราะห์ข้อมูล
สังเกตการเล่นเกมการศึกษาของเด็ก

สรุปผลการวิจัย
ภายหลังจากการส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนช้้นอนุบาลปีที่1/3โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1/3 ทั้ง 36คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น

ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Experimental Results of the Learning Experience Management Focusing on Science 
Process Skills of Kindergarten Children 2
ผู้วิจัย : ศรีนวล ศรีอ่่า

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนกับหลังจัดประสบการณ์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาล 
วัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับสลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  2. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
  3. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.839
วิเคราะห์ข้อมูล  
โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที 


ผลการวิจัยพบว่า
  1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี 
  2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01