การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ผู้วิจัย นางสาวจุฑารัตน์ วรรณศรียพงษ์
ความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย
จากการที่ผู้วิจัยได้ปฏิบัติการสอนที่โรงเรียนกสินธรเซนต์ปีเตอร์ โดยทำการสอนในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1/3 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 36 คน มีการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ 6 กิจกรรมหลัก และส่งเสริมทักษะทางวิชาการให้กับเด็กผู้วิจัยได้มีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน พบว่า เด็กในห้องเรียนส่วนใหญ่ขาดทักษะในการเรียนรู้สิ่งต่างด้วยการสังเกต สังเกตได้จากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์และการทำผลงานต่างๆ เด็กๆจะไม่สังเกตสิ่งต่างๆที่คุณครูนำมาให้ดูเมื่อคุณครูถามก็จะตอบไม่ได้
จากสาเหตุดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมทักษะการสังเกตให้กับ เด็กปฐมวัยการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัยัสามารถจัดได้หลายกิจกรรมด้วยก้น ได้แก่การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์การศึกษาการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต และการเล่นเกมการศึกษา เป็นต้น
ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการสังเกต นักเรียนชั้น อนุบาลปี ที่1/3 โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่หลากหลาย คำนึงถึงความเหมาะสมของเด็ก และเป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กให้มีทักษะการสังเกตมากขึ้น เพื่อเป็นการวางรากฐานการเรียนรู้ให้กับ เด็กในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อใหน้กัเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชาย– หญิงอายุระหว่าง 3-4 ปีที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2556 จำนวน 36 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาฝึกทักษะการสังเกต
ตัวแปรตาม
ทักษะการสังเกตของนักเรียนสูงขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบประเมินทักษะการสังเกตการเล่นเกม 5 เกม
1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมสังเกต
วิธีการดำเนินการ
1. คุณครูสังเกตทักษะการสังเกตของเด็กๆในขณะทำกิจกรรมต่างๆ
2. คุณครูพดูคุยชี้แนะให้เด็กๆสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3. คุณครูจัดกิจกรรมเกมการศึกษา สาธิตวิธีการเล่นเกมใหเ้ด็กๆดู
4. เด็กๆเล่นเกมการศึกษาโดยมีคุณครูคอยชี้นำ และสังเกตวิธีการเล่นเกมของเด็กๆ
5. คุณครูกล่าวชมเชยเด็กเมื่อสามารถเล่นเกมได้ถูกต้อง
6. เด็กๆเล่นเกมการศึกษาอย่างสม่าเสมอ
7. คุณครูประเมินเด็กด้วยแบบประเมินทักษะการสังเกต
การวิเคราะห์ข้อมูล
สังเกตการเล่นเกมการศึกษาของเด็ก
สรุปผลการวิจัย
ภายหลังจากการส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนช้้นอนุบาลปีที่1/3โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1/3 ทั้ง 36คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น