วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความวิทยาศาสตร์


สอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching Children about Flashlight)

     การสอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching children about flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องทำความสว่าง ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้จำเป็นและอำนวยความสะดวกให้คนเรา ดั้งนั้น ไฟฉาย เป็นเครื่องใช้ที่ให้ความสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัย จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตรงตามจุดมุ่งหมายในหลักสูตร
   
   การสอนลูกเรื่องไฟฉายสำคัญอย่างไร

ไฟฉายเป็นเครื่องใช้ที่มีแสงไฟสว่างก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้โดยทั่วไป เช่น คนเดินทางในที่มืดๆ หรือใช้ไฟฉายเพื่อการบันเทิง ( การเชิดหุ่นเงา การแสดงละคร ) แพทย์ใช้เครื่องมือส่องไฟตรวจสุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น ไฟฉายจึงเป็นสิ่งของต่างๆรอบตัวที่เด็กควรเรียนรู้ ดังปรากฏในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ที่ได้กำหนดสาระที่ควรเรียนรู้ เรื่อง สิ่งต่างๆรอบตัว โดยที่หลักสูตรมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งสอดคล้องสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่ได้เสนอการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยกำหนดสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ในสาระที่ 5 : พลังงาน มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต  การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อ สารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นปฐมวัย สำรวจการใช้พลังงานใกล้ตัวและบอกการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ตัวชี้วัด 1 สำรวจการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน และสื่อสารผลการสำรวจด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับวัย การที่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เรื่องไฟฉายผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญนั้น มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระ บวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัด การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป ดังนั้นการที่เด็กได้เรียนรู้เรื่องไฟฉายจึงมีความสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กพัฒนาเต็มตามศักยภาพในช่วงวัยที่ต้องเตรียมความพร้อมก่อนเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป

การสอนเรื่องไฟฉายมีประโยขน์ต่อเด็กอย่างไร

  • เมื่อเด็กได้มีโอกาสสืบเสาะหาความรู้เรื่องไฟฉายได้แก่ แสงฉายมาจากไหน ทำไมต้องใช้ไฟฉาย เมื่อได้รับความรู้แล้ว เด็กจะได้ฝึกหัดอธิบายเรื่องที่ศึกษามา
  • เด็กได้ทดลองใช้ไฟฉาย ย่อมทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อการเรียนรู้
  • เด็กได้ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีคือไฟฉายและวิธีการต่างๆจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของเทคโนโลยี
  • เด็กจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการอธิบายสิ่งที่ค้นพบตามข้อมูลหลักฐานและองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล
  • เด็กจะเป็นผู้มีความสามารถในการนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างชัดเจนเที่ยงตรง มีเหตุผลกับเพื่อนร่วมงาน และตอบคำถามได้
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการจำแนก
  • ทักษะการวัด
  • ทักษะการสือความหมาย
ครูจะสอนไฟฉายให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร

  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูปิดไฟในห้อง ส่องไฟฉายหลายๆกระบอก แล้วให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระตามจังหะ ให้เด็กเคื่อนไหวไปในลำแสงที่ไฟฉายส่อง
  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ให้เด็กเรียนรู้เรื่องรูปร่าง ลักษณะของไฟฉายจากการได้สัมผัส ส่วนประกอบของไฟฉาย แต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร เช่น
  1. กระจกหน้าไฟฉาย ทำมาจากวัสดุใสคือแก้วสีขาว ส่วนนี้ทำหน้าที่ป้องกันหลอดไฟ ทำหน้าที่ใหแสงสว่าง
  2. กระบอกไฟฉาย มีลักษระเป็นกระบอก ใช้จับเวลาใช้งาน ภายในจะมีช่วงกลวงสำหรับเก็บแบตเตอรี่
  3. ฝาปิดท้าย ใช้ป้องกันเพื่อไม่ให้แบตเตอรี่หลุดออกมา 

พ่อแม่ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องไฟฉายอย่างไร

  • ทดลองใช้ไฟฉายเล่นกับลูก ถามลูกว่า "เกิดอะไรขึ้น"
  • เมื่อเกิดไฟดับที่บ้าน พ่อแม่เอาไฟฉายมาส่องแสงให้เกิดสว่าง พ่อแม่ร่วมสนทนาเอ่ยชื่อ ไฟฉาย ให้ลูกได้ยิน และให้ลูกถือไฟฉายส่องแสงบ้าง
  • ใช้ไฟฉายเล่นเงากับลูก
  • ทดลองการใช้ไฟฉายให้ลูกเห็น ตั้งแต่ ใส่แบตเตอรี่ กดสวิทซ์ และส่องไฟ
  • หากไปร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า ชี้แนะให้ลูกเห็นไฟฉายที่ร้านวางจำหน่าย
  • ให้ลูกตัดภาพไฟฉายมาทำเป็นแฟ้ม ฝึกการเล่าเรื่องไฟฉาย
  • ช่วยกันเลือกหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องไฟฉาย
  • ให้ลูกมีส่วนร่วมสืบค้นข้อมูลเรื่องไฟฉายจากคอมพิวเตอร์

เกร็ดความรู้เพื่อครู

  • ไฟฉายเป็นแหล่งกำเนิดของแสงที่มนุษย์สร้างขึ้นชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ หลอดไฟ และเทียนไข
  • เมื่อแสงจากไฟฉายกระทบกับวัตถุใดๆ แสงจะสะท้อนกับวัตถุมาเข้าตาเรา เราจึงเห็นวัตถุเหล่านั้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่  6

วันพฤหัส ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557


ชื่อกิจกรรม : กังหันกระดาษ(turbine paper)

อุปกรณ์ 
1.กระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า(rectangle paper)
2.คลิปหนีบกระดาษ(paper clip)


ขั้นตอนการทำ


  1. ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  2. พับครึ่งกระดาษ
  3. ตัดกระดาษจากปลายเข้าสู่ด้านในจนถึงครึ่ง
  4. พับชายกระดาษฝั่งตรงข้ามแล้วนำคลิปหนีบไว้
  5. ตกแต่งให้สวยงาม
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านผลงาน : 
  1. การสังเกตการร่อนของกังหัน
  2. เรียนรู้แรงโน้มถ่วง (Gravitation)
  3. เรียนรู้แรงต้านทาน(Resistance)
  1. การเล่นอย่างสร้างสรรค์
  2. เด็กได้คิดอย่างอิสระ
  3. การทำผลงานที่มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน
  4. เด็กเกิดความภูมิใจในผลงานของตนเอง และได้มีโอกาสในการลงมือกระทำ
การประยุกต์(Apply) : ร่มชูชีพ เครื่องบิน เครื่องร่อน ฯลฯ

บทความวิทยาศาสตร์
1. แสงสีกับชีวิตประจำวัน มีแม่สีอยู่ 3 แม่สี คือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว เรามองเห็นสีได้โดยอาศัยดวงอาทิตย์ซึ่งมีแสงสีขาว ส่วนสีต่างๆที่เรามองเห็นนั้นเกิดจากแม่สีทั้ง 3 สีมาผสมกัน เช่น การมองเห็นสีใบไม้สด ใบไม้ดูดสีแดง และสีน้ำเงิน แต่ไม่ดูดสีเขียวเพราะใบไม้มีคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) จึงสะท้อนสีเขียวออกมา เราจึงมองเห็นใบไม้สีเขียวสด

2.  เงามหรรศจรรย์ต่อสมอง เป็นสิ่งที่คู่กับแสง เพราะเงาจะตรงกันข้ามกับแสง เงาเกิดจากการที่แสงส่องลงมาแล้วมีสิ่งขวางกั้นจึงเกิดเงาขึ้นมา
การจัดประสบการณ์ให้เด็กเมื่อเด็กกลัวเงา โดยการล่านิทานผ่านเงาสร้างสรรค์ การให้เด็กมายืนที่กลางแจ้งหลายๆเวลา ก็จะส่งผลให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อเงา และมีความสนุกสนานในการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมให้กับเด็กเรียนรู้ประโยชน์และความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และร่วมกันอนุรักษ์ 
จากบทความนี้เด็กได้เรียนรู้ถึงการพึ่งพาอาศัยกันของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

4.  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย การแบ่งการเรียนเป็น 4 หน่วยการเรียนรู้
หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
5.  การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments) การฝึกกิจกรรมเพื่อฝึกความคิดรงบยอด การเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการลงมือค้นคว้าด้วยตนเอง
การทดลอง = การลงมือทำ กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ทักษะการเรียนรู้ของเด็ก

Mind Map หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง กล้วย





เทคนิควิธิการสอน
  • การให้ทำสิ่งประดิษฐ์แล้วร่วมกันวิเคราะห์และร่วมสรุปกับผลงานที่ประดิษฐ์ 
  • ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด
  • ยกตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ที่ได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ และวัสดุธรรมชาติ
  • เทคนิคการสรุป Mind Map และการวางแผนการสอน
  • การยกตัวอย่างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็ก
  • การให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลแล้วนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมห้องฟัง
  • ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี
  • ทักษะการเขียนสรุป
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในชั้นเรียน เช่น ตั้งใจทำกิจกรรมประดิษฐ์ กังหันกระดาษ(turbine paper) และพยายามหาคำตอบของกิจกรรม การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น รับฟังคำติชมของอาจารย์เพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น 
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมกังหันกระดาษ(turbinepaper) และช่วยกันหาคำตอบได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามของอาจารย์ และร่วมมือกันออกแบบการสอนเพื่อให้นักศึกษาไม่ง่วงนอน จึงส่งผลให้การเรียนการสอนสนุกสนานและเต็มไปด้วยคำถามที่ต้องไปหาคำตอบ
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองและการจัดกิจกรรมประดิษฐ์สื่อซึ่งทำให้นักศึกษาสนุกกับการสร้างสรรค์ผลงาน แล้วได้นำผลงานมาทดลอง ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ และอาจารย์ก็รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา เช่น การจัดการเรียนการสอนให้สนุกสนาน เพื่อกระตุ้นการเรียนที่ดี

ความลับของแสง


ความลับของแสง


แสง 
แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีความเร็วถึง 300000 กิโลเมตร/วินาที แสงจะช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว ถ้าหากรอบตัวไม่มีแสงก็จะไม่สามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้ 

คุณสมบัติของแสง 


     การทดลองที่1 

 อุปกรณ์           1.กล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง
                        2.อุปกรณ์ของต่างๆ เช่น ตุ๊กตา
 วิธีการทดลอง  1. นำกล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง นำของต่างๆมาใส่กล่อง เช่น ตุ๊กตาจากนั้นปิดฝากล่อง แล้วมองผ่านรูที่เจาะจะไม่สามารถมองเห็น ตุ๊กตาเนื่องจากด้านในกล่องมีความมืดสนิท ค่อยๆเปิดฝากล่อง แล้วเจาะรูเพิ่ม เอาไฟฉายส่องไปในรูที่เจาะใหม่ จะเห็นของในกล่อง 
            แสดงว่าเราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ เพราะมีแสงส่องโดนวัตถุและแสงสะท้อนกระทบกับวัตถุเข้ามาที่ตาของเรา จึงสามารถมองเห็นวัตถุได้

     การทดลองที่ 2 
อุปกรณ์            1.กระดาษสีดำ เจาะรูตรงกลางให้เท่ากัน 2 แผ่น

วิธีการทดลอง   1.เปิดไฟในห้องมืด นำกระดาษแผ่นแรกวางคั่นแสงกับพื้นห้อง จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเท่านั้น แล้วลองเอาแผ่นที่ 2 ทับก็จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเหมือนกัน
     การทดลองที่ 3 


อุปกรณ์          1. กล่องกระดาษเจาะรูข้างกล่อง

                       2.ภาพต้นแบบ

วิธีการทดลอง 1.ส่องไฟจากภาพต้นแบบให้แสงผ่านรูเล็กๆ ภาพจะปรากฏบนกระดาษไข แล้วลองปรับภาพต้นแบบให้เลื่อนเข้า เลื่อนออก จะทำให้เกิดภาพเล็กภาพใหญ่ แต่จะเห็นเป็นภาพกลับหัวเพราะแสงวิ่งเป็นเส้นตรงตกกระทบด้านล่าง แล้วสะท้อนกลับด้านบนทำให้ภาพเป็นภาพกลับหัว             จากการทดลองแสดงว่า คุณสมบัติของแสง คือ แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไปกระทบกับวัตถุและสะท้อนจากวัตถุเป็นเส้นตรงเหมือนกัน


การสะท้อนของแสง 


    การทดลองที่1

อุปกรณ์      1. ไฟฉาย

                  2. กระจกเงา

การทดลอง 1. วางกระจกไว้ที่พื้น ฉายไฟฉายลงบนกระจกเงา แสงจะสะท้อนกลับมาเป็นแนวเส้นตรง เมื่อลองเปลี่ยนทิศทาง คือ หันแสงไปทางอื่นแสงจะสะท้อนไปทางตรงกันข้ามเสมอ เพราะลำแสงที่สะท้อนไปจะเป็นมุมที่เท่ากับมุมสะท้อนกลับ
     การทดลองที่2 เรียกการทดลองนี้ว่า กระจกฮาไรโดสโคป
อุปกรณ์      1. กระจกเงา 3 บาน

                  2. ภาพ

การทดลอง 1. นำกระจกเงา 3 บานมาติดกันให้เป็นสามเหลี่ยม เมื่อส่องภาพเข้าไปจะเกิดภาพมากมายเนื่องจาก การสะท้อนแสงและมุมกระจกจะทำให้เกิดภาพ

การหักเหของแสง คือ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง


เช่น การฉายแสงผ่านน้ำ ถ้าเป็นเส้นตรง แสงก็จะตรง ถ้าฉายแสงเฉียงแสงก็จะเฉียงตาม เนื่องจากน้ำมีความหนาแน่นมาก ทำให้แสงเคลื่อนที่ช้าการหักเหของแสงจะเดินทางจากมวลอากาศมาก ไปสู่มวลอากาศที่น้อย จึงเกิดการหักเห

     การทดลอง  อ่านหนังสือผ่านแก้วที่ใส่น้ำจนเต็ม จะพบว่าการหักเหของแสงจะกระจายออกทำให้ตัวหนังสือที่เห็นใหญ่ขึ้น

การทดลองการหักเหของแสงโดยผ่านการทดลองที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ 


     การทดลองที่ 1 นำน้ำใส่อ่างแก้ว ประมาณครึ่งอ่าง นำกระจกเล็กๆจุ่มลงไปเฉียงทำมุมขึ้นมา แล้วจะเห็นการสะท้อนขึ้นมาเป็นสีรุ้งกินน้ำ

    การทดลองที่ 2 หันหลังให้ดวงอาทิตย์ แล้วฉีดน้ำ จากนั้นสังเกตจากละอองน้ำ รุ้งกินน้ำจะเกิดตรงข้ามกับพระอาทิตย์เนื่องมาจากการหักเหของละอองน้ำ
    คุณสมบัติ วัตถุแต่ละชนิดจะดูดคลื่นแสง สะท้อนกับวัตถุทำให้เห็นสีต่างๆ


เงา     เป็นสิ่งที่คู่กับแสง เพราะเงาจะตรงกันข้ามกับแสง
การทดลอง ส่องไฟตรงกับวัตถุจะเกิดเงาดำๆ บนพื้นที่วางวัตถุไว้ เป็นรูปวัตถุนั้นๆถ้าส่องตรงกับวัตถุเงาที่สะท้อนจะเป็น 2 เงา เนื่องจากแสงเดินทางผ่านเป็นเส้นตรงดูดกลืนแสงวัตถุมา เงาจะเกิดทุกครั้งที่มีวัตถุมาขวางทางเดินของแสง

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่  5

วันพฤหัส ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

เนื้อหา / กิจกรรมในชั้นเรียน
ชื่อกิจกรรม : แม่ไก่กกไข่
อุปกรณ์ 
  1. กระดาษ (Paper)
  2. รูปภาพ (Picture) แม่ไก่ และ กองฟางสำหรับกกไข่
  3. ด้ามไม้ที่ไม่เป็นอันตรายต่อมือเด็ก และ กระดาษกาว


ขั้นตอนการทำ
  1. นำกระดาษสี่เหลี่ยมมา 1 แผ่น
  2. พับครึ่งกระดาษให้มุมพอดี
  3. นำรูปหรือวาดรูปกองฟางมาติดตรงตำแหน่งที่พอดี
  4. กระดาษอีกด้านให้ติดรูปหรือวาดรูปแม่ไก่ในตำแหน่งที่พอดี
  5. นำด้ามไม้สอดด้านในแล้วติดกระดาษกาวเพือความแข็งแรง
  6. หมุมกระดาษไปมาแล้วสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น


ภาพหลังการหมุน
***ภาพที่ปรากฏบนกระดาษจะกลายเป็น จากภาพสองมิติ เป็นภาพสามมิติทันที การปั่นจะทำให้สิ่งที่เราปั่นนั้นหมุนเร็วขึ้นสายตาที่มองไปยังภาพ เนื่องจากเลนส์สายตาปรับความเร็วจากสิ่งที่ปั่นไม่ทัน จึงทำให้เกิดภาพซ้อน***

ผลที่เด็กได้รับจากกิจกรรม
  1. เด็กจะได้เรียนรู้ถึงทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา (Space & Time)
  2. เด็กได้เรียนรู้ทักษะการสังเกต (Observation)
  3. เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมือในการออกแรงปั่นด้ามไม้
  4. เด็กได้เรียนรู้ภาพสามมิติ

บทความวิทยาศาสตร์ (Science article)
1. เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ “สะเต็มศึกษา” ผ่านโครงงานปฐมวัย  การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก จากการสร้างผลงาน   การฝึกกระบวนการคิด ( thinking process)
 การเรียนรู้การแก้ปัญหา ( learning to solve a problem)
วิธีการจัดกิจกรรม
  1. ครูเน้นการบูรณาการ
  2. มีการเชื่อมโยงเนื้อหา
  3. การพัฒนาทักษะ (acquisition)
  4. ท้าทายความสามารถ (challenge)
  5. เปิดโอกาสแสดงความเข้าใจ
  • การปลูกฝังวิยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
  • สอนให้เด็กตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่ายั่งยืน
  • การเน้นการสร้างประสบการณ์กับการเรียนรู้สิ่งใกล้ตัว ดิน น้ำ ลม ไฟ
  • การเรียนรู้โดยผ่านการสืบเสาะหาความรู้
3. บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์  : การที่พ่อแม่ผู้ปกครองสร้างค่ายวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้ เพื่อปลูกฝังการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก และการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เช่นการเรียนรู้เรื่องเข็มทิศ ให้เด็กได้ทดลองและลงมือกระทำเพื่อหาคำตอบในการใช้เข็มทิศ เด็กก็จะได้ทักษะมากมาย เช่น การสังเกต การคิดแก้ไขปัญหา การตอบคำถามที่ตนเองสงสัย

เทคนิควิธิการสอน (Teaching skill)
  • การให้ทำสิ่งประดิษฐ์แล้วให้ไปหาคำตอบจากการทำกิจกรรม 
  • ทักษะการตอบคำถามที่ได้จากการคิดวิเคราะห์
  • การใช้คำถาม ( Using question)
  • การยกตัวอย่างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็ก
  • การให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลแล้วนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมห้องฟัง
  • ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี
  • ทักษะการเขียนสรุป (Conclusion skill)
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในชั้นเรียน เช่น ตั้งใจทำกิจกรรมภาพสามมิติและพยายามหาคำตอบของกิจกรรม การตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมภาพสามมิติ และช่วยกันหาคำตอบได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามของอาจารย์ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น จึงส่งผลให้การเรียนการสอนสนุกสนานและเต็มไปด้วยคำถามที่ต้องไปหาคำตอบ
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองว่าสาเหตุการเกิดภาพซ้อนเพราะอะไร ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ การยกตัวอย่างกับสิ่งใกล้ตัวจึงทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่าย และส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาการใช้ภาษาต่างประเทศ



วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทินครั้งที่  4

วันพฤหัส ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

เนื้อหาการเรียนรู้  1.บทความวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย  2.ทักษะวิทยาศาสตร์ สรุปความรู้ได้ดังนี้


บทความวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับจากบทความ
  • ทราบข้อมูลกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • มีแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์ที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
  • การสอนวิทยาศาสตร์เป็นการบูรณาการจากกิจกรรมที่เด็กสนใจ
  • การสอนสิ่งที่มีผลกระทบกับตัวเด็ก เช่น เรื่องภาวะโลกร้อน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • การสอนให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ โดย การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ครูคอยส่งเสริมและช่วยเหลือเด็ก
  • การจัดกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กและเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น ภาวะโลกร้อน
  • การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้เด็ก


ทักษะวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • การส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์จากกิจกรรมที่เด็กสนใจ
  • การให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น
  • ออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก การเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
เทคนิควิธิการสอน
  • ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด 
  • ทักษะการตอบคำถามที่ได้จากการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี
  • ทักษะการเขียนสรุป
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในชั้นเรียน เช่น การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเต็มที่ในการตอบคำถามของอาจารย์ จึงส่งผลให้การเรียนการสอนสนุกและราบรื่นไปด้วยดี
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ การยกตัวอย่างกับสิ่งใกล้ตัวจึงทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่าย และส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาการใช้ภาษาต่างประเทศ


วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 

วันพฤหัส ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การเรียนวันนี้ เรื่อง เด็กปฐมวัยกับวิทยาศาสตร์ โดยสรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • การจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กเพื่อให้เด็กได้แสดงออกทางพัฒนาการได้อย่างมีคุณภาพ
  • การจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กและการนำหลักทฤษฏีมาอ้างอิง
  • การนำทฤษฏีการเรียนรู้มาอ้างอิงในการจัดการศึกษาเพื่อที่จะได้มีเป้าหมายในการเรียนรู้ของเด็ก
  • การพัฒนาการสื่อสารทางด้านภาษาเพื่อที่จะเข้าสู่สังคมอาเซียนอย่างมั่นคง
  • การใช้ Mind Map เพื่อการสรุปองความรู้อย่างเป็นระบบและง่ายต่อความเข้าใจ
เทคนิควิธิการสอน
  • ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด 
  • การรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์เดิมสู่ความรู้ใหม่
  • ทักษะการตอบคำถามที่ได้จากการคิดวิเคราะห์
  • การร่วมแสดงความคิดเห็น
  • ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี
  • ทักษะการเขียนสรุป
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามได้ดี ให้ความสนใจกับการเรียนการสอน และสามารถสรุปการเรียนได้ดีในรูปแบบ Mind Map
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น พยายามพัฒนาการสรุปความรู้ในรูปแบบ Mind Map เพื่อจัดความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ 
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ และให้ความสนใจกับคำตอบของนักศึกษาทุกคน การส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ การจับประเด็นความรู้ให้ถูกต้องและแม่นยำทฤษฏีการเรียนรู้

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 

วันพฤหัส ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเรียนวันนี้ เรื่อง เด็กปฐมวัยกับวิทยาศาสตร์ โดยสรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • การออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีประสิทธิภาพ
  • การจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเพื่อที่เด็กจะได้มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย
  • การเปิดโอกาสและให้ความสนใจกับทุกๆข้อสงสัยเด็กของเด็กเพื่อเด็กจะได้มีความรู้ที่กว้างขวาง
เทคนิควิธิการสอน
  • ทักษะการใช้คำถามและการร่วมแสดงความคิดเห็น 
  • ทักษะการตอบคำถามที่ได้จากการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี
  • ทักษะการเขียนสรุป
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามได้ดี ให้ความสนใจกับการเรียนการสอน 
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ได้ดี
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ และให้ความสนใจกับคำตอบของนักศึกษาทุกคน