วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่  6

วันพฤหัส ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557


ชื่อกิจกรรม : กังหันกระดาษ(turbine paper)

อุปกรณ์ 
1.กระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า(rectangle paper)
2.คลิปหนีบกระดาษ(paper clip)


ขั้นตอนการทำ


  1. ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  2. พับครึ่งกระดาษ
  3. ตัดกระดาษจากปลายเข้าสู่ด้านในจนถึงครึ่ง
  4. พับชายกระดาษฝั่งตรงข้ามแล้วนำคลิปหนีบไว้
  5. ตกแต่งให้สวยงาม
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านผลงาน : 
  1. การสังเกตการร่อนของกังหัน
  2. เรียนรู้แรงโน้มถ่วง (Gravitation)
  3. เรียนรู้แรงต้านทาน(Resistance)
  1. การเล่นอย่างสร้างสรรค์
  2. เด็กได้คิดอย่างอิสระ
  3. การทำผลงานที่มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน
  4. เด็กเกิดความภูมิใจในผลงานของตนเอง และได้มีโอกาสในการลงมือกระทำ
การประยุกต์(Apply) : ร่มชูชีพ เครื่องบิน เครื่องร่อน ฯลฯ

บทความวิทยาศาสตร์
1. แสงสีกับชีวิตประจำวัน มีแม่สีอยู่ 3 แม่สี คือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว เรามองเห็นสีได้โดยอาศัยดวงอาทิตย์ซึ่งมีแสงสีขาว ส่วนสีต่างๆที่เรามองเห็นนั้นเกิดจากแม่สีทั้ง 3 สีมาผสมกัน เช่น การมองเห็นสีใบไม้สด ใบไม้ดูดสีแดง และสีน้ำเงิน แต่ไม่ดูดสีเขียวเพราะใบไม้มีคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) จึงสะท้อนสีเขียวออกมา เราจึงมองเห็นใบไม้สีเขียวสด

2.  เงามหรรศจรรย์ต่อสมอง เป็นสิ่งที่คู่กับแสง เพราะเงาจะตรงกันข้ามกับแสง เงาเกิดจากการที่แสงส่องลงมาแล้วมีสิ่งขวางกั้นจึงเกิดเงาขึ้นมา
การจัดประสบการณ์ให้เด็กเมื่อเด็กกลัวเงา โดยการล่านิทานผ่านเงาสร้างสรรค์ การให้เด็กมายืนที่กลางแจ้งหลายๆเวลา ก็จะส่งผลให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อเงา และมีความสนุกสนานในการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมให้กับเด็กเรียนรู้ประโยชน์และความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และร่วมกันอนุรักษ์ 
จากบทความนี้เด็กได้เรียนรู้ถึงการพึ่งพาอาศัยกันของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

4.  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย การแบ่งการเรียนเป็น 4 หน่วยการเรียนรู้
หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
5.  การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments) การฝึกกิจกรรมเพื่อฝึกความคิดรงบยอด การเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการลงมือค้นคว้าด้วยตนเอง
การทดลอง = การลงมือทำ กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ทักษะการเรียนรู้ของเด็ก

Mind Map หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง กล้วย





เทคนิควิธิการสอน
  • การให้ทำสิ่งประดิษฐ์แล้วร่วมกันวิเคราะห์และร่วมสรุปกับผลงานที่ประดิษฐ์ 
  • ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด
  • ยกตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ที่ได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ และวัสดุธรรมชาติ
  • เทคนิคการสรุป Mind Map และการวางแผนการสอน
  • การยกตัวอย่างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็ก
  • การให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลแล้วนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมห้องฟัง
  • ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี
  • ทักษะการเขียนสรุป
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในชั้นเรียน เช่น ตั้งใจทำกิจกรรมประดิษฐ์ กังหันกระดาษ(turbine paper) และพยายามหาคำตอบของกิจกรรม การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น รับฟังคำติชมของอาจารย์เพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น 
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมกังหันกระดาษ(turbinepaper) และช่วยกันหาคำตอบได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามของอาจารย์ และร่วมมือกันออกแบบการสอนเพื่อให้นักศึกษาไม่ง่วงนอน จึงส่งผลให้การเรียนการสอนสนุกสนานและเต็มไปด้วยคำถามที่ต้องไปหาคำตอบ
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองและการจัดกิจกรรมประดิษฐ์สื่อซึ่งทำให้นักศึกษาสนุกกับการสร้างสรรค์ผลงาน แล้วได้นำผลงานมาทดลอง ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ และอาจารย์ก็รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา เช่น การจัดการเรียนการสอนให้สนุกสนาน เพื่อกระตุ้นการเรียนที่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น