วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่  5

วันพฤหัส ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

เนื้อหา / กิจกรรมในชั้นเรียน
ชื่อกิจกรรม : แม่ไก่กกไข่
อุปกรณ์ 
  1. กระดาษ (Paper)
  2. รูปภาพ (Picture) แม่ไก่ และ กองฟางสำหรับกกไข่
  3. ด้ามไม้ที่ไม่เป็นอันตรายต่อมือเด็ก และ กระดาษกาว


ขั้นตอนการทำ
  1. นำกระดาษสี่เหลี่ยมมา 1 แผ่น
  2. พับครึ่งกระดาษให้มุมพอดี
  3. นำรูปหรือวาดรูปกองฟางมาติดตรงตำแหน่งที่พอดี
  4. กระดาษอีกด้านให้ติดรูปหรือวาดรูปแม่ไก่ในตำแหน่งที่พอดี
  5. นำด้ามไม้สอดด้านในแล้วติดกระดาษกาวเพือความแข็งแรง
  6. หมุมกระดาษไปมาแล้วสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น


ภาพหลังการหมุน
***ภาพที่ปรากฏบนกระดาษจะกลายเป็น จากภาพสองมิติ เป็นภาพสามมิติทันที การปั่นจะทำให้สิ่งที่เราปั่นนั้นหมุนเร็วขึ้นสายตาที่มองไปยังภาพ เนื่องจากเลนส์สายตาปรับความเร็วจากสิ่งที่ปั่นไม่ทัน จึงทำให้เกิดภาพซ้อน***

ผลที่เด็กได้รับจากกิจกรรม
  1. เด็กจะได้เรียนรู้ถึงทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา (Space & Time)
  2. เด็กได้เรียนรู้ทักษะการสังเกต (Observation)
  3. เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมือในการออกแรงปั่นด้ามไม้
  4. เด็กได้เรียนรู้ภาพสามมิติ

บทความวิทยาศาสตร์ (Science article)
1. เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ “สะเต็มศึกษา” ผ่านโครงงานปฐมวัย  การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก จากการสร้างผลงาน   การฝึกกระบวนการคิด ( thinking process)
 การเรียนรู้การแก้ปัญหา ( learning to solve a problem)
วิธีการจัดกิจกรรม
  1. ครูเน้นการบูรณาการ
  2. มีการเชื่อมโยงเนื้อหา
  3. การพัฒนาทักษะ (acquisition)
  4. ท้าทายความสามารถ (challenge)
  5. เปิดโอกาสแสดงความเข้าใจ
  • การปลูกฝังวิยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
  • สอนให้เด็กตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่ายั่งยืน
  • การเน้นการสร้างประสบการณ์กับการเรียนรู้สิ่งใกล้ตัว ดิน น้ำ ลม ไฟ
  • การเรียนรู้โดยผ่านการสืบเสาะหาความรู้
3. บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์  : การที่พ่อแม่ผู้ปกครองสร้างค่ายวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้ เพื่อปลูกฝังการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก และการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เช่นการเรียนรู้เรื่องเข็มทิศ ให้เด็กได้ทดลองและลงมือกระทำเพื่อหาคำตอบในการใช้เข็มทิศ เด็กก็จะได้ทักษะมากมาย เช่น การสังเกต การคิดแก้ไขปัญหา การตอบคำถามที่ตนเองสงสัย

เทคนิควิธิการสอน (Teaching skill)
  • การให้ทำสิ่งประดิษฐ์แล้วให้ไปหาคำตอบจากการทำกิจกรรม 
  • ทักษะการตอบคำถามที่ได้จากการคิดวิเคราะห์
  • การใช้คำถาม ( Using question)
  • การยกตัวอย่างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็ก
  • การให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลแล้วนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมห้องฟัง
  • ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี
  • ทักษะการเขียนสรุป (Conclusion skill)
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในชั้นเรียน เช่น ตั้งใจทำกิจกรรมภาพสามมิติและพยายามหาคำตอบของกิจกรรม การตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมภาพสามมิติ และช่วยกันหาคำตอบได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามของอาจารย์ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น จึงส่งผลให้การเรียนการสอนสนุกสนานและเต็มไปด้วยคำถามที่ต้องไปหาคำตอบ
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองว่าสาเหตุการเกิดภาพซ้อนเพราะอะไร ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ การยกตัวอย่างกับสิ่งใกล้ตัวจึงทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่าย และส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาการใช้ภาษาต่างประเทศ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น