วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุิทินครั้งที่ 11


บันทึกอนุทินครั้งที่  11

วันพฤหัสบดี ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การนำเสนอแผนการสอน 

กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย(Banana) ( ชนิดของกล้วย )
วัตถุประสงค์ 
  1. เด็กบอกชื่อชนิดกล้วยได้
  2. เด็กนับจำนวน บอกจำนวน และแทนสัญลักษณ์ ฮินดูอาราบิกได้
  3. เด็กจัดหมวดหมู่ของกล้วยได้
กิจกรรมสาระการเรียนรู้
ขั้นนำ  ครูร้องเพลง ชนิดของกล้วย และใช้คำถามเพื่อทบทวนความรู้
ขั้นสอน 
  1. ครูใช้คำถามเพื่อทดสอบประการณ์เดิม "กล้วยที่หนูรู้จักมีกล้วยอะไรบ้าง"
  2. ครูเขียนชนิดของกล้วยที่เด็กบอก
  3. ครูนำกล้วยของจริงมาให้ด็กเรียนรู้ เช่น กล้วยน้ำว้า(Cultivated banana) 4 ลูก กล้วยหอม 1 ลูก กล้วยไข่ 1 ลูก กล้วยเล็บมือนาง 1 ลูก 
  4. เด็กนับและบวกจำนวนของกล้วย และอาสาสมัครเขียนเลขฮินดูอาราบิกกำกับจำนวนกล้วย
  5. เด็กจัดหมวดหมู่กล้วย คือ ตระกร้าที่ 1 ใส่กล้วยน้ำว้า ตระกร้าที่ 2 ใส่กล้วยชนิดที่เหลือ
ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันสรุป โดยเขียนกราฟฟิกอย่างง่ายเกี่ยวกับชนิดกล้วย
การประเมิน
  1. สังเกตการบอกชื่อชนิดกล้วย
  2. สังเกตการนับ การบอกจำนวน และการแทนสัญลักษณ์
  3. สังเกตการจัดหมวดหมู่ชนิดกล้วย
กลุ่มที่ 2 หน่วยไก่(Chicken) ( ลักษณะของไก่ )
เทคนิคการสอน
  1. ครูใช้จิ๊กซอให้เด็กต่อภาพ โดยร้องเพลง เมื่อเพลงจบให้เด็กมาต่อจิ๊กซอ
  2. ครูใช้คำถามปลายเปิด ส่วนประกอบของไก่มีอะไรบ้าง , ไก่มีสีอะไรบ้าง , ไก่มีขนาดอย่างไรบ้าง
  3. ปริศนาคำทาย 
วัตถุประสงค์
  1. เด็กบอกลักษณะไก้แจ้(bantam) และไก่ต๊อกได้
  2. เด็กปรียบเทียบไก่แจ้และไก่ต๊อกได้
  3. เด็กหาความสัมพันธ์ของไก่แจ้ และไก่ต๊อกได้
กลุ่มที่ 3 หน่วยกบ (Frog) ( วัฏจักรของกบ )
สื่อการเรียนรู้
  1. เปิด VDO วัฏจักรของกบ 
  2. รูปภาพวัฏจักรของกบ
การสอน 
  1. ครูเปิด VDO วัฏจักรของกบให้เด็กเรียนรู้
  2. ครูใช้คำถาม เพื่อทดสอบความรู้ของเด็ก
  3. ครูและเด็กร่วมกันสรุป โดยเขียนกราฟฟิกอย่างง่าย
กลุ่มที่ 4 หน่วยปลา (Fish) (ประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา)
การสอน
  1. ครูเล่านิทานกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา เช่น เรื่องชายประมงและฝูงปลา
  2. ครูใช้คำถามพื่อทดสอบความรู้ของเด็ก
  3. ครูและเด็กร่วมกันสรุปความรู้ ผ่านแผนภูมิอย่างง่าย
กลุ่มที่ 5 หน่วยข้าว (Rice) (ข้าวทาโกยากิ)
การสอน
  1. ครูจัดเตรียมของและอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
  2. ครูสาธิตการทำทาโกยากิให้ดูก่อน
  3. อาสาสมัคร ตีไข่ และตักส่วนผสม
  4. เด็กทำทาโกยากิจนครบทุกคน
กลุ่มที่ 6 หน่วยต้นไม้(Tree) (ชนิดของต้นไม้)
การสอน
  1. ครูพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้
  2. ครูถามเด็กเกี่ยวกับคำคล้องจอง และถามชนิดต้นไม้ที่ด็กรู้จัก
  3. ครูนำภาพต้นไม้ชนิดต่างๆมาให้เด็กสังเกต 
  4. เด็กจัดหมวดหมู่ของต้นไม้
กลุ่มที่ 7 หน่วยนม (Milk) (ลักษณะของนม)
การสอน
  1. ครูร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ
  2. ทำการทดลอง  หยดน้ำยาล้างจานลงในนม และสีผสมอาหาร / สิ่งที่เกิดขึ้นน้ำยาล้างจาน นม สีผสมอาหาร จะผสมกัน นมเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะที่ใส่
  3. นมไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ
  4. นมมีลักษณะเป็นของเหลว เหมือนน้ำ
  5. นมมีหลายสี หลายกลิ่น หลายรสชาติ
กลุ่มที่ 8 หน่วยน้ำ(Water) (อนุรักษณ์น้ำ)
การสอน
  1. ครูร้องเพลง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง  แม่น้ำจะสกปรก  ถ้าเราเห็นใครทิ้ง ต้องเตือน ต้องตือน ต้องเตือน
  2. การเล่านิทานหนูนิดรักน้ำ และการใช้คำถามปลายเปิด สอดแทรกขณะเล่านิทาน
กลุ่มที่ 9 มะพร้าว(Coconut) (การปลูกมะพร้าว)
การสอน
  1. ครูร้องเพลงและมีรูปภาพการปลูกมะพร้าว
  2. ครูใช้คำถาม ปลูกที่ไหนดี จากนั้นครูบอกขั้นตอนการปลูกมะพร้าว จากแผ่นภาพ
  3. เด็กนำแผ่นภาพมาจัดเรียงลำดับการปลูกมะพร้าว
กลุ่มที่ 10 ผลไม้(Fruit) (ผลไม้ผัดเนย)
การสอน
  1. ครูจัดเตรียมของและอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
  2. ครูสาธิตการทำผลไม้ผัดเนยให้ดูก่อน
  3. อาสาสมัคร หั่นผลไม้ และตักเครื่องปรุง
  4. เด็กทำร่วมกันทำผลไม้ผัดเนยจนครบทุกคน
การนำความรู้ไปใช้
  1. การนำแผนการสอนไปจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
  2. การเขียนแผนการสอนที่บูรณาการกับวิชาอื่นเพื่อเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
  3. การจัดกรรมที่หลากหลายและให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว โดยให้เด็กได้เรียนจากทักษะทางวิทยาศาสตร์
เทคนิคการสอน
  1. การเพิ่มติมความรู้เพื่อเสริมให้แผนมีความสมบูรณ์มากขึ้น
  2. การแนะนำเทคนิคการสอนให้มีความสนุกและเกิดการเรียนรู้
  3. การประยุกต์เพลงเด็กเพื่อให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียน
  4. การวิจารณ์ในเชิงบวกเพื่อการเสริมแรง และการวิจารณ์ในเชิงลบเพื่อการแก้ไขและปรับปรุง
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย ตรงต่อเวลา และเตรียมตัวมานำเสนอแผนการสอนในหน่วยกล้วย แต่การนำเสนอยังต้องปรับปรุงอีกมาก ขั้นนำควรเริ่มจากนิทาน เพลง หรือคำคล้องจอง และเทคนิคการสอนควรหลากหลายพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อย ตรงต่องเวลา ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมการนำเสนอแผนในวันนี้เป็นอย่างดี ทุกคนสามารถนำคำติชมของอาจารย์มาปรับใช้ได้อย่างดี ทุกคนสนุกกับกิจกรรมการทำอาหารเช่น ข้าวทาโกยากิ และผลไม้ผัดเนย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ให้คำแนะนำต่างๆเพื่อให้นักศึกษามาปรับใช้กับการเขียนแผน
อาจารย์ใส่ใจกับกลุ่มที่นำเสนอได้เพิ่มเทคนิคการสอนและเพิ่มเติมความรู้ให้นักศึกษา เพื่อส่งเสริมกระบวนการความคิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น