วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


บันทึกอนุทินครั้งที่  15

วันพฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การนำเสนอวิจัย


นิยาม : ทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุป  การบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีความเห็นจากข้อมูลจากการสังเกต จากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่

กิจกรรมการทดลอง : ไข่หมุน
อุปกรณ์ 
  1. ไข่ต้มสุก
  2. ไข่ดิบ
วิธีการสอน
  1. เด็กนำไข่ต้มสุกมาหมุนแล้วสังเกตการหมุนของไข่ต้มสุก
  2. เด็กนำไข่ดิบมาหมุนแล้วสังเกตการหมุนของไข่ดิบ
  3. เด็กหมุนไข่พร้อมกันแล้วสังเกตความหมุนต่างของไข่
  4. เด็กบอกความหมุนต่างของไข่ แล้วบันทึก
  5. ครูและเด็กร่วมกันสรุปความเห็น
กิจกกรมในชั้นเรียน : สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน

อุปกรณ์ : 
  1. กระดาษ A4 พับสามส่วน


สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนนนี้ 
  • เป็นแผ่นพับที่แสดงรายละเอียดจากจัดการเรียนในหน่วยการต่างๆ ที่ครูและเด็กได้ร่วมตกลงกัน 
  • เป็นวารสารที่ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองของเด็กในการจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ เพื่อความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็ก
  • วารสารจะมีเพลงหรือคำคล้องจองกี่ยวกับหน่วยการเรียนของด็ก เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในหน่วยนั้นๆ
  • ท้ายสุดมีกิจกรรม เล่นกับลูก เป็นเกมการศึกษาให้แม่และลูกได้เล่น เพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต ซึ่งป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ และยังบูรณาการกับวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ เป็นต้น
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำเนื้อหาและรูปแบบวิจัยไปเป็นต้นแบบในการทำวิจัยในชั้นเรียน
  2. การนำวิธีการสอนหรือการทดลองมาจัดการสอนในหน่วยไข่ เพื่อส่งสริมทักษะการสังเกตของเด็ก
  3. การทำสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนไปใช้เมื่อเราไปเป็นครู เพื่อเป็นการประสานงานความร่วมมือกับผู้ปกครอง
  4. การประสานความร่วมมือกับครู ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อพัฒนาเด็กปฐมให้ครอบคลุม
  5. การทำรายละเอียดหรือเกล็ดความรู้ให้ผู้ปกครองทราบถึงหน่วยการเรียนรู้ของเด็ก
เทคนิคการสอน
  1. การใช้คำถามเพื่อทดสอบการฟังหรือเรียนรู้วิจัยของนักศึกษาว่ามีความรู้มากน้อยเพียงใด
  2. การขยายหรือเพิ่มเติมความรู้จากวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ
  3. การประยุกต์วิจัยที่นำเสนอสู่หน่วยการเรียนที่แต่ละกลุ่มทำ
  4. ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทำวารสารป็นกลุ่ม เพื่อให้คนในกลุ่มได้ตกลงหน้าที่กัน
  5. การอธิบายการทำวารสาร ว่าในเนื้อหาเราต้องใส่คำที่สวยงามไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป
  6. การบอกเทคนิค สร้างเกมเล่นกับลูกที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์
  7. การสรุปความรู้ทุกครั้งหลังการสอน
ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีวินัยในชั้นรียน ตั้งใจและจดบันทึกวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ ให้ความร่วมมือในการทำวารสารในกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจน จึงทำให้งานออกมาได้สมบูรณ์แบบ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีวินัยใยชั้นเรียน ตั้งใจเรียนและร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น เพื่อนทุกคนก็แบ่งหน้าที่กันชัดเจน ร่วมมือกันทำงานจนสำเร็จ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนการสอนมาตลอดทั้งภาคเรียน ทำให้นักศึกษาตระหนักเห็นถึงการเป็นแม่พิมพ์ของชาติที่ดี ขอบพระคุณอาจารย์ที่ใส่ใจนักศึกษาทุกรายละเอียด เช่น การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การเขียนแผนการสอน เทคนิควิธีต่างๆที่ได้นำมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษา ดิฉันมีความกังวลใจว่าเราจะสอนวิทยาศาสตร์เด็กได้อย่างไร แต่พอมาเรียนแล้วก็ได้รูปแบบการสอน และเทคนิคต่างๆ เพื่อนำไปส่งเสริมเด็กให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น บรรกาศการเรียนมีบางครั้งที่ทำให้เกิดเมื่อยล้ากับเนื้อหาที่เยอะ แต่โดยรวมแล้วเมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆจะเห็นรอยยิ้ม ความสนุกสนานของเพื่อนทุกคน สิ่งที่ประทับใจอาจารย์ คือ การดูแลเอาใจใส่นักศึกษา ดิฉันจะเห็นทุกคาบคือการจดบันทึก จดรายละเอียดความรู้ที่นักศึกษาไดนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน สิ่งนี้ทำให้นักศึกษารู้ว่าเนื้อหาที่นำมาไม่เสียเปล่าเลย สุดท้ายดิฉันขอบคุณอาจารย์ ที่ตั้งใจมอบทุกอย่างให้นักศึกษาเป็นคนดีและคนเก่ง "อย่ารอให้ผมปลี่ยนสีแล้วค่อยเก่ง เก่งตั้งแต่ตอนนี้เราจะประสบความสำเร็จในชีวิต" ประโยคนี้ทำให้ดิฉันมีกำลังใจในการรียนและศึกษาความรู้ให้มากขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น