วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทินครั้งที่  9

วันเสาร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557


การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
การบูรณาการกับวิชาอื่นๆ
  • คณิตศาสตร์: การนับจำนวน--->การบอกจำนวน--->การแทนด้วนสัญลักษณ์(ฮินดูอารบิก)
  • ภาษา : การสื่อสาร--->การฟังและการบอก--->การวาดรูป--->การเล่าเรื่อง ( ฟัง พูด เขียน อ่าน )
  • วิทยาศาสร์ : การสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory Moter)
หน่วย เรื่อง กล้วย Banana

ตัวอย่างแผนการสอนประจำวันจันทร์ เรื่อง ชนิดของกล้วย
  • ขั้นนำ>>> การนำเข้าสู่บทเรียนโดยการร้องเพลง คำคล้องจอง การเล่านิทาน ที่กี่ยวข้องกับชนิดของกล้วย
  • ขั้นสอน>>> การใช้คำถามกระตุ้นและทบทวนเพื่อทดสอบความจำของเด็ก + ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการสังเกตถึงความเหมือนและความต่างของกล้วยแต่ละชนิด
  • ขั้นสรุป>>> การรวบรวมข้อมูลโดยการใช้กราฟฟิกในการนำเสนอข้อมูล
กิจกรรมเสรี >>> ให้ด็กได้วาดภาพ การทำศิลปะสร้างสรรค์ผลงาน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การเขียนแผนการสอนที่บูรณาการกับวิชาอื่น
  2. การเขียนแผนการสอนที่เด็กได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งเนื้อหาและทักษะ
  3. การเขียนแผนการที่มีข้อมูลหรือความรู้ที่เชื่อมโยงกัน
  4. การเขียนแผนการสอนให้ครบและมีเนื้อหาที่เด็กเข้าได้ง่าย
  5. การนำเรื่องใกล้ตัวด็กมาขยายหรือสนับสนุนข้อมูล
  6. การสร้างแผนที่มีวิธิการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมเด็กให้ครบทุกด้าน


เทคนิคการสอน
  1. ทักษะการคิดวิเคราะห์
  2. ทักษะการเชื่อมโยงเนื้อหา
  3. ทักษะการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการ
  4. ทักษะการเขียนแผนการสอนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่เรียน
  5. การเขียนแผนโดยการใช้คำหรือประโยคที่ถูกต้อง
  6. การจัดระบบของแต่ละวันในการสอนเด็ก
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน เช่นการตอบคำถาม การคิดวิเคราะห์ความรู้ในการเขียนแผนการสอนให้ถูกต้องและครอบคลุม
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการรียน การฟัง การเขียนแผนการสอน เพื่อให้แต่ละแผนมีความถูกต้องและความหลากหลาย
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้กระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเขียนแผนการสอน การยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในการเขียนแผน จึงทำให้นักศึกษามีทักษะการเขียนแผนเพื่อนำไปใช้ในการเรียนและการทำงาน 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทินครั้งที่  8

วันพฤหัส ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557



กิจกรรม : นำเสนอสื่อของล่นวิทยาศาสตร์สำหรับด็กปฐมวัย

ยกตัวอย่างสื่อ
  1. เสียงแตร ปู๊นๆ
  2. เรือของเล่น
  3. กระป๋องบูมเมอแรง
  4. ปืนลูกโป่ง
  5. แท่นยิงจากช้อน ฝาขวด
  6. โยโย่จีน
  7. ขวดน้ำผิวปาก
  8. แก้วส่งเสียง
  9. เป่าให้ลอย
  10. ตุ๊กตาโยกเยก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การประดิษฐ์สื่อของวิทยาศาสตร์ต้องมีขั้นตอนที่ง่ายเพื่อเด็กจะได้ลงมือทำด้วย (Active Learning)
  2. การประดิษฐ์สื่อที่เด็กได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งเนื้อหาและทักษะ
  3. การใช้วัสดุเหลือใช้ในการประดิษฐ์สื่อ เพื่อให้เด็กได้เห็นถึงประโยชน์ที่หลากหลายของวัสดุต่างๆ
  4. การประดิษฐ์สื่อที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์(creativity)ให้กับครูและเด็ก
  5. การประดิษฐ์สื่อโดยการรียูส (Reuse) สิ่งของต่างๆ
  6. การหาความรู้พิ่มเติมเพื่อนำมาสนับสนุนและขยายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก 
การใช้เทคนิคการสอน
  1. ทักษะการค้นคว้าหาความรู้ต้วยต้นเอง(Research)
  2. ทักษะการนำเสนอ(Reports)และอภิปราย(Discussion)กับสื่อของตนเอง
  3. ทักษะการเชื่อมโยงความรู้จากของเล่นเด็กสู่การบูรณาการกับวิทยาศาสตร์
  4. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้
  5. การขยายความรู้กับสื่อที่นักศึกษานำเสนอ
  6. ส่งเสริมการแก้ปัญหา(Problem Solving)
  7. ส่งเสริมให้นักศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมพื่อนำมาสนับสนุนสื่อ 
  8. ทักษะการใช้สื่อและเทคโนยีในการศึกษา
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน เช่นการใช้เหตุผลกับสื่อของเพื่อนเพื่อให้เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ ร่วมการตอบคำถาม และการขยายความรู้ร่วมกับเพื่อนและอาจารย์
  • ประเมินเพื่อน : กิจกรรมการประดิษฐ์สื่อในครั้งนี้ทำให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์จากผลงานของเพื่อนและการเพิ่มติมความรู้วิทยาศาสตร์ จึงทำให้เห็นถึงความสมบูรณ์ในการศึกษาค้นตว้าด้วยตนองและนำมาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้เพิ่มเติมความรู้ให้กับนักศึกษา ให้เทคนิคการทำสื่อการเพิ่มประสบการณ์ให้กับเด็กที่หลากหลาย โดยเด็กสามารถนำมาเปรียบเทียบได้และได้เรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่  7

วันพฤหัส ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557


ชื่อกิจกรรม : กระดิ้บกระดื้บ
อุปกรณ์ 
  1. แกนกระดาษทิชชู
  2. ไหมพรม (Yarn)
  3. กระดาษ (Paper)
  4. กรรไกร (Scissors)
  5. ตาไก่เจาะกระดาษ
  6. กาว (Glue)
ขั้นตอนการทำ


  1. ตัดแกนทิชชูให้เป็นครึ่งท่อน
  2. เจาะรูทั้ง 2 ข้าง
  3. ตัดกระดาษวงกลม วาดภาพตกแต่งให้สวยงาม
  4. ติดรูปตรงกลางระหว่างรูเจาะ
  5. ร้อยเชือกไหมพรม พร้อมมัดปลายเชือก


การเล่น (Play)
นำเชือกคล้องคอแล้วดึงเชือกทีละข้าง 

คำถามกระตุ้นเด็ก : "เกิดอะไรขึ้น ลองทำดู"


บทความวิทยาศาสตร์

1.สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก เป็ด และ ไก่  โดยการนำสื่อ นิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่ง
ขั้นนำ : ครูและเด็กร้องเพลงไก่ ร่วมกันสนทนา และตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ "ไก่กับเป็ดต่างกันอย่างไร"
ขั้นสอน : เปิดโอกาสให้เด็กสำรวจ รวบรวมข้อมูล จากการทัศนศึกษาฟาร์มไก่และเป็ด โดยสังเกตด้วยตาเปล่าและแว่นขยาย(magnifying glass)
ขั้นสรุป : ให้เด็กนำเสนอผลงานจากคำพูดและภาพวาด

2.จุดประการเด็กคิดนอกกรอบ สนุกคิดกับของเล่นวิทย์ โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ และการนำมาประยุกต์ให้กับเด็กปฐมวัย

3.ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก โดยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เช่นการรวบรวมข้อมูลแล้วการนำไปใช้  การลงมือปฏิบัติ การบูรณาการ

4. สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ(Natural phenomena) แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ

ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้

5.การสอนลูกเรื่องอากาศ(Teaching Children about weather)  การจัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรงเรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ

เทคนิควิธิการสอน
  • การประดิษฐ์สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
  • การเป็นนักแก้ปัญหา โดยการเชื่อมโยงความรู้หรือการประยุกต์สื่อเด็กประถมศึกษามาใช้กับเด็กปฐมวัย 
  • ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด
  • การใช้คำที่กระตุ้นนักศึกษาเพื่อการร่วมมือกันในการเรียนการสอน
  • การเขียนแผนการสอน
  • การยกตัวอย่างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็ก
  • การให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตัวเอง
  • ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี
  • การสอนการนำเสนองาน 
  • การอภิปราย
  • การนำเนื้อหาทุกวิชามาบูรณาการกับวิชาวิทยาศาสตร์
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและสนุกกับการทำกิจกรรมประดิษฐ์สื่อ เพราะเราสามารถนำไปใช้ได้จริง และเนื้อหาบทความวิทยาศาสตร์ก็สามารถนำไปใช้ได้และทำให้เรามีความรู้ที่หลากหลายจากการที่เพื่อนมานำเสนอบทความ
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมและช่วยกันหาคำตอบได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ 
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลายทั้งการป้อนข้อมูล การศึกษาความรู้ด้วยตัวเอง การเพิ่มเติมความรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานเวลาออกฝึกสอน และในการเรียนมีทั้งเนื้อหาภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติทำให้การเรียนสนุกและตื่นเต้น