วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกอนุทินครั้งที่  13

วันพฤหัสบดี ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เนื้อหาการเรียน : วิจัยวิทยาศาสตร์สำเด็กปฐมวัย

เพื่อพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 6 ด้าน
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การวัด
  4. มิติสัมพันธ์
  5. การสื่อสาร
  6. การลงความเห็น
โดยใช้แผนเสริมประสบการณ์เชื่อมโยงสู่ศิปะสร้างสรรค์ เช่น หน่วยเครื่องครัว
  1. ครูสอนเด็กโดยนำภาพอาหารมาให้ด็กสังเกตและชิมรส แล้วถามเด็กว่าอาหารนี้มีเครื่องปรุงอะไรบ้าง และต้องใช้เครื่องครัวอะไรบ้าง  
  2. ครูนำเครื่องครัวมาให้เด็กสังเกต จำแนกเปรียบเทียบ
  3. เด็กร่วมแสดงความคิดเห็น
  4. ครูให้เด็กสร้างผลงานศิลปะสร้างสรรค์ หน่วยเครื่องครัว
รูปแบบศิลปะสร้างสรรค์  6 รูปแบบที่นำมาจัดประสบการณ์
  1. ศิลปะย้ำ
  2. ศิลปะปรับภาพ
  3. ศิลปะเลียนแบบ
  4. ศิลปะถ่ายโยง
  5. ศิลปะบูรณาการ
  6. ศิลปะค้นหา

มิติสัมพันธ์ : ความสามารถในการมองเห็น ความเข้าใจ การจำแนก
การจัดกิจกรรม : การทดลอง > การสื่อความหมาย > การวาดภาพระบายสี > การบันทึก


พัฒนาทักษะการจำแนก > ความสามารถในการจับกลุ่ม เรียงลำดับ หาความสัมพันธ์
การสอนแบบสืบเสาะ
  1. ครูและเด็กร่วมตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์
  2. สำรวจ ตรวจสอบ รวบรวมข้อมูล
  3. หาคำตอบและอธิบาย
  4. การนำเสนอ
คำถาม เด็กรู้บรรยากาศก่อน - หลังฝนตกไหม และวเป็นบรรยากาศอย่างไร


พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 6 ด้าน
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การแสดงปริมาณ
  4. มิติสัมพันธ์
  5. การสื่อความหมาย
  6. การแสดงความคิดเห็น
กิจกรรมในชั้นเรียน : Cooking Waffle


  1. ครูเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น ถ้วยตวง ชามขนาดใหญ่ ที่ตีไข่ ข้อน จาน แป้งWaffle ไข่ไก่ เนยเครื่องทำขนม น้ำ เป็นต้น พร้อมทั้งอธิบายและสาธิตขั้นตอนการทำ
  2. อาสาสมัครออกมาช่วยครูจัดอุปกรณ์ทั้งหมด 6 ชุด
  3. อาสาสมัครมารับอุปกรณ์ และช่วยกันทำขนม เริ่มจากตีไข่ให้เนียน ใส่เนย และค่อยๆใส่แป้งที่ละนิด พร้อมกันเติมน้ำให้แป้งมีความเนียนพอดี
  4. ตักใส่ถ้วยคนละ 1 ถ้วย แล้วนำไปหยอดที่เครื่องทำขนม รอจนสุกแล้วตักใส่จาน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำวิจัยเรื่องต่างๆไปเป็นแนวทางในการทำจัยหรือเรียนวิชา วิจัยเพื่อการศึกษา ในภาคเรียนที่2
  2. นำแนวทาง เครื่องมือ การทำวิจัย มาเป็นรูปแบบเพื่อการจัดการศึกษาเด็ก
  3. นำแผนการจะจัดประสบการณ์มาใช้ หรือการบูรณาการกับวิชาอื่นให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
  4. การนำวิธีการสอนทำขนมไปใช้กับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กทำงานอย่างเป็นระบบ
  5. การทำขนมไปต่อยอดจากการเรียนสู่การค้าขาย โดยอาจเพิ่มเติม Topping และรสต่างๆ
เทคนิคการสอน
  1. ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือ ข้อมูลวิจัย ฐานวิจัย เป็นต้น
  2. ฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์วิจัยที่ได้นำมา ทำไม อย่างไร ผลเป็นอย่างไร
  3. ฝึกการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อความกล้าแสดงออกและบุคคลิกภาพความเป็นครู
  4. การขยายเพิ่มเติมความรู้จากวิจัยที่ได้ศึกษา
  5. การทบทวนความรู้โดยการใช้คำถามกระตุ้น
  6. กิจกรรมการทำขนม โดยลงมือ
ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายสุขภาพเรียบร้อย มีวินัยในห้องเรียน ตั้งใจและจดความรู้จากการนำเสนอวิจัยของเพื่อน ร่วมตอบคำถามแสดงความคิดเห็นจากคำถามของอาจารย์ และชอบกิจกรรมในห้องเรียนในวันนี้มาก เพราะ ดิฉันพอมีทักษะในการทำขนม เช่น โดนัท กระหรี่ปั๊บ ลูกชุป และอื่นๆ แต่ Waffle เป็นครั้งแรกในการทำมีความสนใจและชอบจะนำไปต่อยอด รสชาติให้มีลูกเล่นมากขึ้น เพื่อนำไปขายหน้าร้าน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อย เข้ารียนตรงเวลา ตั้งใจจดบันทึก ตั้งใจเรียน แต่มีส่วนน้อยที่ยังคุยกันขณะเพื่อนนำเสนอ แต่โดยรวมแล้วการเรียนการสอนสนุก จากการร่วมตอบคำถาม และการทำขนม

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ใช้เทคนิคที่หลากหลายในการเรียนการสอน สิ่งที่ให้นักศึกษามานำเสนอวิจัยเป็นการฝึกนักศึกษาให้ค้นหาความรู้ การคิดวิเคราะห์ ความกล้าแสดงออก มีบุคคลิกที่ดี เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนความรู้ให้มีคลังความรู้เพิ่มเติม ขอบคุณอาจารย์ที่เป็นต้นแบบที่ดีในการเรียนการสอน เช่น ความตรงต่อเวลา ความใส่ใจและสนใจเด็กทุกคน ทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งที่นำมาไม่เสียเปล่า และประทับใจการทำขนม ทำให้ได้ความรู้หลายอย่างในกิจกรรมนี้ เช่น ขั้นตอนการสอนเด็กทำอาหาร และเป็นการสร้างอาชีพเล็กๆให้ดิฉันในช่วงปิดเทอม ดิฉันมีควาามสุขและสนุกสนานกับการเรียนการสอน ผ่อนคลายกับการทำขนม

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทินครั้งที่  12

วันพฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นำเสนอวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิจัยเรื่องที่ 1 การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อใหน้กัเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น

2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบประเมินทักษะการสังเกตการเล่นเกม 5 เกม
1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมสังเกต

สรุปผลการวิจัย
ภายหลังจากการส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า เด็กนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น

วิจัยเรื่องที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
  2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ทักษะที่เด็กได้รับ
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การสื่อสาร
การจัดกิจกรรมโดยการฟังนิทาน สู่ การทดลอง
  1. พับเรือ แล้วใช้คำถามจะจมหรือลอย
  2. เด็กได้สังเกต
  3. ครูใส่ลูกแก้วที่ละลูก พอถึงลูกที่ 4 เรือจม (เด็กได้จำแนกจำนวนลูกแก้วลูกที่ 1-3 เรือลอย ส่วนลูกที่ 4 เรือจม)
  4. เด็กได้ประมวลความรู้เพื่อนำเสนอ

ความมุ่งหมายของวิจัย
  1. เพื่อศึกษาทักษะของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัยก่อนทดลอง และหลังทดลอง
สรุปผลวิจัย

การวิจัยเปนการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Design) ซึงทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนนักเรียนระดับปฐมวัย โดยผู้วิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยางเป็นเวลา1 สัปดาห

จากนั้นทําการทดสอบด้วยแบบทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย กอนการทดลอง
กับกลุมตัวอย่าง และดําเนินการทดลองจนครบ  8 สัปดาหเมื่อสิ้นสุดการทดลอง  นําแบบทดสอบทักษะ
กระบวนการวิทยาศาสตร ของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง    และนําขอมูลที่ไดจากการทดสอบมาวิเคราะหขอมูลด้วยวิธีการทางสถิติ


ทักษะที่เด็กได้รับ
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนก
  3. ทักษะด้านมิติสัมพันธ์
  4. ทักษะการลงความเห็น
คำสำคัญ : ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์/ กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

สรุปผลการวิจัย

1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจ าแนกรายทักษะ หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอยูมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกวากอนใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ 40 แผน
  2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • การจำแนก
  • การวัดปริมาณ
  • การหามิติสัมพันธ์
  • การลงความห็น
สรุปผลการทำวิจัย

เน้นกระบวนการเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติทุกขั้นตอน โดยให้เด็กทำแป้งโด แล้วให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ


ทักษะที่ได้รับ
  1. ทักษะการฟัง
  2. ทักษะการสังเกต
  3. ทักษะการคิดแก้ปัญหา
  4. ทักษะการใช้เหตุผล
สรุปผลการวิจัย

เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวมและราบด้าน สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรม


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์
  2. แบบทดสอบสัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล 5 ชุด
สรุปผลการทำวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบปกติ หลังการทดลองเด็กมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำเครื่องมือการวิจัยวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย
  2. การนำวิจัยมาปรับใช้เพื่องส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
  3. การนำวัยมาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาให้กับเด็กปฐมวัย
  4. การนำวิจัยมาเป็นแบบอย่างในการทำวิจัยในชั้นเรียน
  5. การใช้คำสำสัญเพื่อหาวิจัยได้ง่ายขึ้น
เทคนิคการสอน
  1. การสืบค้นข้อมูลและความรู้ด้วยตนเอง
  2. การคิดวิเคราะห์ในการสรุปผลการทำวิจัย
  3. การเพิ่มเติมความรู้จากวิจัยแต่ล่ะเรื่อง
  4. การให้จำคำสำคัญของวิจัย
  5. การนำสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน
  6. การให้คำแนะนำในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  7. การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ
การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง : แต่งกายถูกระเบียบ มีความตรงต่อเวลาในการเข้าห้องเรียน การนำเสนอวิจัยในวันนี้ราบรื่นเพราะสามารถใช้นำ้เสียงที่น่าฟัง และเพื่อนที่ฟังการนำเสนอวิจัยสามารถจับประเด็นได้ 
ประเมินพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังการนำเสนอวิจัยต่างๆ และสามารถสรุปองค์ความรู้ต่างๆได้เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง แล้วให้นำวิจัยมานำเสนอหน้าชั้นเรียน สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการขยายความรู้ของวิจัยแต่ละเรื่องให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ดิฉันประทับอาจารย์เป็นอย่างมาก เพราะอาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำทุกครั้งที่นักศึกษานำเสนองาน อาจารย์ก็จะใส่ใจและจดบันทึกความรู้ตลอด ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าสิ่งที่เตรียมมาอาจารย์ให้ความสำคัญกับงานที่นักศึกษาได้ทำ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การส่งเสริมทกัษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา


 การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ผู้วิจัย นางสาวจุฑารัตน์ วรรณศรียพงษ์


ความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย
   จากการที่ผู้วิจัยได้ปฏิบัติการสอนที่โรงเรียนกสินธรเซนต์ปีเตอร์ โดยทำการสอนในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1/3 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 36 คน มีการจัดการเรียนการสอน  โดยใช้ 6 กิจกรรมหลัก และส่งเสริมทักษะทางวิชาการให้กับเด็กผู้วิจัยได้มีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน พบว่า เด็กในห้องเรียนส่วนใหญ่ขาดทักษะในการเรียนรู้สิ่งต่างด้วยการสังเกต สังเกตได้จากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์และการทำผลงานต่างๆ เด็กๆจะไม่สังเกตสิ่งต่างๆที่คุณครูนำมาให้ดูเมื่อคุณครูถามก็จะตอบไม่ได้
   จากสาเหตุดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมทักษะการสังเกตให้กับ เด็กปฐมวัยการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัยัสามารถจัดได้หลายกิจกรรมด้วยก้น ได้แก่การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์การศึกษาการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต และการเล่นเกมการศึกษา เป็นต้น
   ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการสังเกต นักเรียนชั้น อนุบาลปี ที่1/3 โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่หลากหลาย คำนึงถึงความเหมาะสมของเด็ก และเป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กให้มีทักษะการสังเกตมากขึ้น เพื่อเป็นการวางรากฐานการเรียนรู้ให้กับ เด็กในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อใหน้กัเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชาย– หญิงอายุระหว่าง 3-4 ปีที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2556 จำนวน 36 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาฝึกทักษะการสังเกต
ตัวแปรตาม
ทักษะการสังเกตของนักเรียนสูงขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบประเมินทักษะการสังเกตการเล่นเกม 5 เกม
1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมสังเกต

วิธีการดำเนินการ
1. คุณครูสังเกตทักษะการสังเกตของเด็กๆในขณะทำกิจกรรมต่างๆ
2. คุณครูพดูคุยชี้แนะให้เด็กๆสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3. คุณครูจัดกิจกรรมเกมการศึกษา สาธิตวิธีการเล่นเกมใหเ้ด็กๆดู
4. เด็กๆเล่นเกมการศึกษาโดยมีคุณครูคอยชี้นำ และสังเกตวิธีการเล่นเกมของเด็กๆ
5. คุณครูกล่าวชมเชยเด็กเมื่อสามารถเล่นเกมได้ถูกต้อง
6. เด็กๆเล่นเกมการศึกษาอย่างสม่าเสมอ
7. คุณครูประเมินเด็กด้วยแบบประเมินทักษะการสังเกต

การวิเคราะห์ข้อมูล
สังเกตการเล่นเกมการศึกษาของเด็ก

สรุปผลการวิจัย
ภายหลังจากการส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนช้้นอนุบาลปีที่1/3โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1/3 ทั้ง 36คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น

ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Experimental Results of the Learning Experience Management Focusing on Science 
Process Skills of Kindergarten Children 2
ผู้วิจัย : ศรีนวล ศรีอ่่า

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนกับหลังจัดประสบการณ์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาล 
วัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับสลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  2. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
  3. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.839
วิเคราะห์ข้อมูล  
โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที 


ผลการวิจัยพบว่า
  1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี 
  2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01


วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความลับของอากาศ


"ความลับของอากาศ"


      อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่

 ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่

รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ใน

บ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น

    อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น 

ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญ

ของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ 

ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น

สมบัติของอากาศ   (Properties)

1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้

2.อากาศมีน้ำหนัก

3.อากาศต้องการที่อยู่

4.อากาศเคลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนา

แน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่น

มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม

    อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้

เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก 

เป็นต้น 

    ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสอง

บริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อภาพยุนั้นจะเรียกแตก

ต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิด

ความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็น

จำนวนมาก

     อุณหภูมิ (temperature) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลด

ต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของ

สิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศฟาเรนไฮต์

     เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆ อยู่ปลาย

ด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว ทำให้ระดับ

ของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว ระดับของเหลวจะ

ลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำ

     อากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถ

ดำรงชีวิตอยู่ได้

     อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้

ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไว

โอเลตหรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ 

ทำให้เกิดเมฆฝน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำเกษตรกรรมในประเทศ


บันทึกอนุิทินครั้งที่ 11


บันทึกอนุทินครั้งที่  11

วันพฤหัสบดี ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การนำเสนอแผนการสอน 

กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย(Banana) ( ชนิดของกล้วย )
วัตถุประสงค์ 
  1. เด็กบอกชื่อชนิดกล้วยได้
  2. เด็กนับจำนวน บอกจำนวน และแทนสัญลักษณ์ ฮินดูอาราบิกได้
  3. เด็กจัดหมวดหมู่ของกล้วยได้
กิจกรรมสาระการเรียนรู้
ขั้นนำ  ครูร้องเพลง ชนิดของกล้วย และใช้คำถามเพื่อทบทวนความรู้
ขั้นสอน 
  1. ครูใช้คำถามเพื่อทดสอบประการณ์เดิม "กล้วยที่หนูรู้จักมีกล้วยอะไรบ้าง"
  2. ครูเขียนชนิดของกล้วยที่เด็กบอก
  3. ครูนำกล้วยของจริงมาให้ด็กเรียนรู้ เช่น กล้วยน้ำว้า(Cultivated banana) 4 ลูก กล้วยหอม 1 ลูก กล้วยไข่ 1 ลูก กล้วยเล็บมือนาง 1 ลูก 
  4. เด็กนับและบวกจำนวนของกล้วย และอาสาสมัครเขียนเลขฮินดูอาราบิกกำกับจำนวนกล้วย
  5. เด็กจัดหมวดหมู่กล้วย คือ ตระกร้าที่ 1 ใส่กล้วยน้ำว้า ตระกร้าที่ 2 ใส่กล้วยชนิดที่เหลือ
ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันสรุป โดยเขียนกราฟฟิกอย่างง่ายเกี่ยวกับชนิดกล้วย
การประเมิน
  1. สังเกตการบอกชื่อชนิดกล้วย
  2. สังเกตการนับ การบอกจำนวน และการแทนสัญลักษณ์
  3. สังเกตการจัดหมวดหมู่ชนิดกล้วย
กลุ่มที่ 2 หน่วยไก่(Chicken) ( ลักษณะของไก่ )
เทคนิคการสอน
  1. ครูใช้จิ๊กซอให้เด็กต่อภาพ โดยร้องเพลง เมื่อเพลงจบให้เด็กมาต่อจิ๊กซอ
  2. ครูใช้คำถามปลายเปิด ส่วนประกอบของไก่มีอะไรบ้าง , ไก่มีสีอะไรบ้าง , ไก่มีขนาดอย่างไรบ้าง
  3. ปริศนาคำทาย 
วัตถุประสงค์
  1. เด็กบอกลักษณะไก้แจ้(bantam) และไก่ต๊อกได้
  2. เด็กปรียบเทียบไก่แจ้และไก่ต๊อกได้
  3. เด็กหาความสัมพันธ์ของไก่แจ้ และไก่ต๊อกได้
กลุ่มที่ 3 หน่วยกบ (Frog) ( วัฏจักรของกบ )
สื่อการเรียนรู้
  1. เปิด VDO วัฏจักรของกบ 
  2. รูปภาพวัฏจักรของกบ
การสอน 
  1. ครูเปิด VDO วัฏจักรของกบให้เด็กเรียนรู้
  2. ครูใช้คำถาม เพื่อทดสอบความรู้ของเด็ก
  3. ครูและเด็กร่วมกันสรุป โดยเขียนกราฟฟิกอย่างง่าย
กลุ่มที่ 4 หน่วยปลา (Fish) (ประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา)
การสอน
  1. ครูเล่านิทานกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา เช่น เรื่องชายประมงและฝูงปลา
  2. ครูใช้คำถามพื่อทดสอบความรู้ของเด็ก
  3. ครูและเด็กร่วมกันสรุปความรู้ ผ่านแผนภูมิอย่างง่าย
กลุ่มที่ 5 หน่วยข้าว (Rice) (ข้าวทาโกยากิ)
การสอน
  1. ครูจัดเตรียมของและอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
  2. ครูสาธิตการทำทาโกยากิให้ดูก่อน
  3. อาสาสมัคร ตีไข่ และตักส่วนผสม
  4. เด็กทำทาโกยากิจนครบทุกคน
กลุ่มที่ 6 หน่วยต้นไม้(Tree) (ชนิดของต้นไม้)
การสอน
  1. ครูพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้
  2. ครูถามเด็กเกี่ยวกับคำคล้องจอง และถามชนิดต้นไม้ที่ด็กรู้จัก
  3. ครูนำภาพต้นไม้ชนิดต่างๆมาให้เด็กสังเกต 
  4. เด็กจัดหมวดหมู่ของต้นไม้
กลุ่มที่ 7 หน่วยนม (Milk) (ลักษณะของนม)
การสอน
  1. ครูร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ
  2. ทำการทดลอง  หยดน้ำยาล้างจานลงในนม และสีผสมอาหาร / สิ่งที่เกิดขึ้นน้ำยาล้างจาน นม สีผสมอาหาร จะผสมกัน นมเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะที่ใส่
  3. นมไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ
  4. นมมีลักษณะเป็นของเหลว เหมือนน้ำ
  5. นมมีหลายสี หลายกลิ่น หลายรสชาติ
กลุ่มที่ 8 หน่วยน้ำ(Water) (อนุรักษณ์น้ำ)
การสอน
  1. ครูร้องเพลง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง  แม่น้ำจะสกปรก  ถ้าเราเห็นใครทิ้ง ต้องเตือน ต้องตือน ต้องเตือน
  2. การเล่านิทานหนูนิดรักน้ำ และการใช้คำถามปลายเปิด สอดแทรกขณะเล่านิทาน
กลุ่มที่ 9 มะพร้าว(Coconut) (การปลูกมะพร้าว)
การสอน
  1. ครูร้องเพลงและมีรูปภาพการปลูกมะพร้าว
  2. ครูใช้คำถาม ปลูกที่ไหนดี จากนั้นครูบอกขั้นตอนการปลูกมะพร้าว จากแผ่นภาพ
  3. เด็กนำแผ่นภาพมาจัดเรียงลำดับการปลูกมะพร้าว
กลุ่มที่ 10 ผลไม้(Fruit) (ผลไม้ผัดเนย)
การสอน
  1. ครูจัดเตรียมของและอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
  2. ครูสาธิตการทำผลไม้ผัดเนยให้ดูก่อน
  3. อาสาสมัคร หั่นผลไม้ และตักเครื่องปรุง
  4. เด็กทำร่วมกันทำผลไม้ผัดเนยจนครบทุกคน
การนำความรู้ไปใช้
  1. การนำแผนการสอนไปจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
  2. การเขียนแผนการสอนที่บูรณาการกับวิชาอื่นเพื่อเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
  3. การจัดกรรมที่หลากหลายและให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว โดยให้เด็กได้เรียนจากทักษะทางวิทยาศาสตร์
เทคนิคการสอน
  1. การเพิ่มติมความรู้เพื่อเสริมให้แผนมีความสมบูรณ์มากขึ้น
  2. การแนะนำเทคนิคการสอนให้มีความสนุกและเกิดการเรียนรู้
  3. การประยุกต์เพลงเด็กเพื่อให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียน
  4. การวิจารณ์ในเชิงบวกเพื่อการเสริมแรง และการวิจารณ์ในเชิงลบเพื่อการแก้ไขและปรับปรุง
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย ตรงต่อเวลา และเตรียมตัวมานำเสนอแผนการสอนในหน่วยกล้วย แต่การนำเสนอยังต้องปรับปรุงอีกมาก ขั้นนำควรเริ่มจากนิทาน เพลง หรือคำคล้องจอง และเทคนิคการสอนควรหลากหลายพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อย ตรงต่องเวลา ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมการนำเสนอแผนในวันนี้เป็นอย่างดี ทุกคนสามารถนำคำติชมของอาจารย์มาปรับใช้ได้อย่างดี ทุกคนสนุกกับกิจกรรมการทำอาหารเช่น ข้าวทาโกยากิ และผลไม้ผัดเนย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ให้คำแนะนำต่างๆเพื่อให้นักศึกษามาปรับใช้กับการเขียนแผน
อาจารย์ใส่ใจกับกลุ่มที่นำเสนอได้เพิ่มเทคนิคการสอนและเพิ่มเติมความรู้ให้นักศึกษา เพื่อส่งเสริมกระบวนการความคิด

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทินครั้งที่  10

วันพฤหัสบดี ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557


เนื้อหาการเรียน
แนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์
  1. การเปลี่ยนแปลง
  2. ความแตกต่าง
  3. การปรับตัว
  4. การพึ่งพาอาศัยกัน
  5. ความสมดุล
การศึกษาวิธีการวิทยาศาสตร์
  1. ขั้นกำหนดปัญหา (การใช้คำถาม)
  2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
  3. การรวบรวมข้อมูล
  4. การลงข้อสรุป
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  1. การสังเกต
  2. การสื่อสาร
  3. การพยากรณ์
  4. การจำแนก
  5. การเปรียบเทียบ
  6. การลงความเห็น
กิจกรรม : การทดลองวิทยาศาสตร์
การทดลองที่ 1 ปั้นดินน้ำมันเป็นลูกกลมๆ แล้วนำไปหย่อนลงน้ำในอ่าง ผลปรากฏว่า ดินน้ำมันจมลงไปใต้น้ำ

การทดลองที่ 2 ดินน้ำมันลอยน้ำ ปั้นดินน้ำมันเป็นถ้วยหรือเรือ ที่มีความหนาที่พอเหมาะ แล้วนำลงไปหย่อนในอ่าง ผลปรากฏว่า เรือดินน้ำมันลอยน้ำ เหตุเพราะ มีความบาง ไม่หนักเหมือนรูปทรงกลมในการทดลองที่ 1

การทดลองที่ 3 ดอกไม้บาน ตัดกระดาษเป็นดอกไม้แล้วตกแต่งให้สวยงาม พับกลีบเข้าด้านในทุกกลีบ แล้วนำไปลอยน้ำ ผลปรากฏว่า กลับดอกไม้ค่อยๆบานออกมา เหตุเพราะ น้ำซึมในเยื่อกระดาษจึงทำให้ดอกไม้บาน

การทดลองที่ 4 แรงดันน้ำ เจาะรูที่ขวด 3 รู ตามแนวตั้ง แล้วปิดเทปใสที่รู เติมน้ำลงไปเกือบเต็มขวด
แล้วค่อยๆแกะเทบใสออกทีละรู ผลปรากฏว่า รูระดับล่างสุดน้ำจะไหลออกมาแรงที่สุด

การทดลองที่ 5 เจาะรูที่ก้นขวดน้ำ เติมน้ำลงไปในขวด เมื่อปิดฝาขวด น้ำจะไม่ไหลออกมา เพราะไม่มีอากาศ แต่หากเปิดฝาขวด น้ำจะไหลออกมาทางรูที่เจาะ เพราะมีอากาศ 

การทดลองที่ 6 การไหลของน้ำ

การทดลองที่ 7 เทียนครอบแก้ว

การทดลองที่ 8 เทียนดูดน้ำ

การทดลองที่ 9 การหักเหของแสง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำการทดลองต่างๆมาสอนในหน่วยการเรียนรู้
  2. การเขียนแผนการสอนที่มีการทดลอง
  3. การนำสิ่งใกล้ตัวหรือสิ่งๆต่างมาประยุกต์ใช้ในการทดลองวิทยาศาสตร์
เทคนิคการสอน
  1. การใช้คำถามที่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น
  2. การให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำต่อวัตถุ
  3. การเพิ่มเติมข้อมูลหลังการทดลอง
  4. การเตรียมความพร้องของอุปกรณ์ที่จะนำมาทดลอง
  5. การใช้สื่อต่างๆ ที่เหมาะสม
  6. การอภิปรายความรู้ร่วมกับนักศึกษา
ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีความสนใจกับการเรียนในวันนี้ เพราะมีการทดลองให้เราได้สังเกตและลงมือกระทำด้วยตนเอง ทำให้เราได้รับความรูปอย่างป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน :เพื่อนคนให้ความร่วมมือกับการทดลองรวมถึงการร่วมตอบคำถามและอภิปรายความรู้เพิ่มติม จะห็นได้ว่าบรรยากาศในห้องเรียนเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็นและคำถามว่า "ทำไม" "อย่างไร"

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์จัดการเรียนการสอนที่่หลากหลายทั้งการอภิปรายความรู้และการทดลองวิทยาศาสตร์ วัสดุอุปกรณ์ที่จัดเตรียมมา เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาทำให้ทุกคนได้รับการเรียนรู้ และสนุกสนานกับการทดลอง